
ประเภทกองทุน
กองทุนต่างประเทศ
นโยบายการลงทุน
กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ หน่วยลงทุน CIS ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ตราสารทุน โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารทุนที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มการเจริญเติบโตในอนาคต โดยกระจายการลงทุนไปในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมี net exposure ในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในต่างประเทศซึ่งจะส่งผลให้มี net exposure ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหรือตามอัตราส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active management ที่มีกระบวนการคัดกรองหรือการคัดเลือกหลักทรัพย์ โดยใช้เกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลข (Quantitative Screening) โดยพิจารณาจากขนาดหุ้น (Size), สภาพคล่อง (Liquidity), ผลตอบแทน (Return), รายได้ (Earning), อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E), ราคาเป้าหมาย (Target price) และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Screening) จากการวิเคราะห์หุ้นบริษัทรายตัว พิจารณาจากแนวโน้มการทำกำไร, การเป็นผู้นำในตลาด, ทีมผู้บริหาร, คู่แข่ง, ความเสี่ยง เพื่อนำเข้ากรอบการลงทุนที่สามารถลงทุนได้ (Investment universe) และ จัดพอร์ตการลงทุน โดยวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ, แนวโน้มการลงทุน (Trend), ธีมการลงทุน (Theme), กลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ที่เหมาะสมกับตลาด, มุมมองของนักลงทุนที่มีต่อตลาดช่วงเวลาหนึ่ง (Sentiment) และคัดเลือกเข้าพอร์ตการลงทุน จากการวิเคราะห์แนวโน้มของประเทศ ประกอบกับข่าวสถานการณ์การลงทุน
สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือกองทุนไทยอาจพิจารณาลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟที่มีการบริหารจัดการกองทุนในลักษณะ leveraged management หรือ inverse management เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio management) และอาจพิจารณาลงทุนทั้งในและต่างประเทศในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก เงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ รวมถึง หลักทรัพย์ และ/หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาจากสภาวะของตลาดการเงินในขณะนั้น และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง การเงินและการคลัง เป็นต้น เพื่อคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มของค่าเงิน ในกรณีที่คาดการณ์ว่าค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แต่หากในกรณีที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรืออาจลงทุนในสัดส่วนน้อย อย่างไรก็ตามหากผู้จัดการกองทุนพิจารณาว่าการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอาจไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์ที่อาจได้รับ ผู้จัดการกองทุนอาจไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้ นอกจากนี้การทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวอาจมีต้นทุนซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient portfolio management) หรือลดความเสี่ยง (Hedging) ที่มี underlying เป็นตราสารทุน เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้เพิ่มขึ้น และ/หรือลดค่าใช้จ่ายของกองทุน หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กองทุนจะเข้าเป็นคู่สัญญาจะมีสินทรัพย์อ้างอิง ได้แก่ ตราสารทุน และ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน หากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสัญญาหรือคู่สัญญาที่ทำธุรกรรมไม่สามารถชำระภาระผูกพันได้ตามกำหนดเวลา อาจทำให้กองทุนไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง หรือขาดทุนจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการจะวิเคราะห์และติดตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์อ้างอิง รวมถึงพิจารณาความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาก่อนทำธุรกรรมและติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนจะเน้นทำธุรกรรมกับคู่สัญญาที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ กองทุนปลายทางไม่สามารถลงทุนย้อนกลับในกองทุนต้นทาง (circle investment) และกองทุนปลายทางสามารถลงทุนต่อในกองทุนอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกันไปได้อีกไม่เกิน 1 ทอด ทั้งนี้ การลงมติใช้สิทธิออกเสียงกรณีกองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยห้ามมิให้กองทุนต้นทางลงมติให้กองทุนปลายทาง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กองทุนปลายทางไม่สามารถดำเนินการเพื่อขอมติได้ เนื่องจากติดข้อจำกัดห้ามมิให้กองทุนต้นทางลงมติให้กองทุนปลายทาง บริษัทจัดการสามารถขอรับความเห็นชอบจากสำนักงานได้ หากได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยของกองทุนปลายทางในส่วนที่เหลือ
นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตํ่ากว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) และหลักทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) รวมถึงอาจทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ หรือธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) และ/หรือ ธุรกรรมประเภทการให้ยืมหลักทรัพย์ (securities lending) และ/หรือ ทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
นโยบายเงินปันผล
ไม่มี
ตัวชี้วัด
ดัชนี Morningstar Global Mkts Index NR USD สัดส่วนร้อยละ 100 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทนวันจดทะเบียนกองทุน
22 กรกฎาคม 2025
ชื่อผู้จัดการกองทุน
คุณพรเพ็ญ ชุลีประเสริฐ
คุณพลสินธุ์ กิจมั่นถาวร
ระดับความเสี่ยงของกอง
