ประเภทกองทุน
กองทุนต่างประเทศ
นโยบายการลงทุน
กองทุนมีนโยบายกระจายการลงทุนในตราสารทุน และ/หรือ ตราสารแห่งหนี้ และ/หรือ หน่วยลงทุน CIS และ/หรือ กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) และ/หรือ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/REITs และ/หรือ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือ หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้ลงทุนได้ โดยกองทุนจะลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวทั่วโลก ในสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทจัดการและตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ
กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient portfolio management) และ/หรือ เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาจากสภาวะของตลาดการเงินในขณะนั้น และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง การเงินและการคลัง เป็นต้น เพื่อคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มของค่าเงิน ในกรณีที่คาดการณ์ว่าค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก แต่หากในกรณีที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรืออาจลงทุนในสัดส่วนน้อย อย่างไรก็ตามหากผู้จัดการกองทุนพิจารณาว่าการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอาจไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์ที่อาจได้รับ ผู้จัดการกองทุนอาจไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้ นอกจากนี้การทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวอาจมีต้นทุนซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยการลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ กองทุนปลายทางไม่สามารถลงทุนย้อนกลับในกองทุนต้นทาง (circle investment) และกองทุนปลายทางสามารถลงทุนต่อในกองทุนอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกันไปได้อีกไม่เกิน 1 ทอด ทั้งนี้ การลงมติใช้สิทธิออกเสียงกรณีกองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยห้ามมิให้กองทุนต้นทางลงมติให้กองทุนปลายทาง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กองทุนปลายทางไม่สามารถดำเนินการเพื่อขอมติได้ เนื่องจากติดข้อจำกัดห้ามมิให้กองทุนต้นทางลงมติให้กองทุนปลายทาง บริษัทจัดการสามารถขอรับความเห็นชอบจากสำนักงานได้ หากได้รับมติเกินกึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยของกองทุนปลายทางในส่วนที่เหลือ
กองทุนอาจลงทุนหรือการทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ โดยมีฐานะการลงทุนสูงสุดของกองทุน (Maximum Limit) ในการลงทุนหรือทำธุรกรรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยลงทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
2. ธุรกรรมการกู้ยืมเงิน (Borrowing) หรือการทำธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repo) เพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุน โดยลงทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
3. ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) โดยลงทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
4. ธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (Short selling) โดยลงทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
5. ธุรกรรมประเภทการให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Lending) โดยลงทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในหน่วย Private equity
บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) หรือสามารถกลับมาเป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในตราสาร และ/หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาด โดยเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน อนึ่ง บริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทกองทุนดังกล่าว โดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ และเว็บไซต์ของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
นโยบายเงินปันผล
ไม่มี
ตัวชี้วัด
1) ดัชนี Morningstar Global Mkts Index NR USD สัดส่วนร้อยละ 80 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทน2) ดัชนี Morningstar Global Core Bond GR USD สัดส่วนร้อยละ 20 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคํานวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คํานวณผลตอบแทน
วันจดทะเบียนกองทุน
16 พฤษภาคม 2024
ชื่อผู้จัดการกองทุน
คุณวิริยา โภไคศวรรย์
คุคุณพรเพ็ญ ชุลีประเสริฐ