ประเภทกองทุน
กองทุนต่างประเทศ
นโยบายการลงทุน
o กองทุนมีนโยบายที่จะเน้นลงทุนในหน่วย Private equity โดยไม่จำกัดอัตราส่วน สามารถมีสัดส่วนการลงทุนในหน่วย Private equity สูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
o กองทุนจะเน้นลงทุน Fullerton Thai Private Equity Fund ซึ่งเป็นกองทุนย่อย (“Sub-Fund”) ภายใต้ Fullerton Alternative Fund 2 VCC ที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะของบริษัทจำกัดความรับผิดในรูปแบบของ Umbrella Variable Capital Company ภายใต้กฎหมายของประเทศสิงคโปร์ (“VCC”)1 โดยที่ VCC และ Sub-Fund มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน (เรียกรวมว่า “กองทุนหลัก”) ซึ่งกองทุนหลักอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ Fullerton Fund Management Company Ltd.
ทั้งนี้ กองทุนหลักแบ่งหุ้นเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. หุ้นที่มีอำนาจบริหารจัดการ (Management Shares) เป็นหุ้นส่วนทุนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในการบริหารจัดการกองทุนหลัก แต่ไม่มีสิทธิได้รับผลตอบแทนใด ๆ จากกองทุนหลักนอกเหนือจากเงินที่ลงทุน ทั้งนี้ Fullerton Fund Management Company Ltd. จะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจบริหารจัดการของกองทุนหลักจำนวน 1 หุ้น
2. หุ้นที่เข้าร่วม (Participating Shares) เป็นหุ้นส่วนทุนที่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง เว้นแต่เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบเกี่ยวกับสิทธิในหุ้นดังกล่าว โดยหุ้นที่เข้าร่วมสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิด (Class/Series) ตามที่คณะกรรมการของกองทุนหลักจะเห็นสมควร โดยที่หุ้นเข้าร่วมแต่ละชนิดอาจมีสิทธิได้รับผลตอบแทน และ/หรือ มีภาระหน้าที่ในการชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับแต่ละชนิดของหุ้นที่เข้าร่วมนั้น ๆ ในการนี้ หุ้นที่เข้าร่วมของกองทุนหลักจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด กล่าวคือ Class A (THB) Participating Shares (เสนอขายให้กองทุนไทยเท่านั้น) และ Class B (THB) Participating Shares (เสนอขายให้แก่นักลงทุนอื่น ๆ ที่ลงทุนในกองทุนหลักโดยตรง)
ทั้งนี้ หน่วย Private Equity ที่กองทุนจะลงทุนจะมีลักษณะแบบหุ้นที่เข้าร่วม (Participating Shares) ชนิด Class A (THB) Participating Shares
ทั้งนี้ กองทุนหลักมีบริษัท Hatton Equity Partners (APAC) Limited ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor: FA) และทำหน้าที่เป็น Deal team ในการประเมินหาบริษัทเป้าหมายที่จะเข้าพอร์ตการลงทุน และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้นหาดีลต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยในการจัดหา Deal ต่าง ๆ อาจมาจากเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง (Network) และอาศัยประสบการณ์ที่มีความคุ้นเคยกับตลาดทุน บริษัท Hatton Equity Partners (APAC) Limited เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนนอกตลาด (Private Equity) ที่มีประสบการณ์บริหารสินทรัพย์ประเภทนี้ และบริษัท Hatton Equity Partners (APAC) Limited มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง ประกอบไปด้วยผู้มีประสบการณ์ลงทุนด้านการลงทุนจากประกันสังคม ผู้มีประสบการณ์ลงทุนด้านการลงทุนนอกตลาด (Private Equity) วาณิชธนากร และที่ปรึกษาที่สั่งสมประสบการณ์ด้านการลงทุนนอกตลาด (Private Equity) มายาวนาน อนึ่ง ความรับผิดชอบ (liability and fiduciary duty) ในการบริหารงานของบริษัท Hatton Equity Partners (APAC) Limited จะอยู่ที่ผู้จัดการกองทุนหลักเท่านั้น กล่าวคือ บริษัท Hatton Equity Partners (APAC) Limited จะถูกกำกับดูแลโดยผู้จัดการกองทุนหลักในฐานะผู้จ้าง ทั้งนี้ กองทุนหลักอาจปรับเปลี่ยน และ/หรือเพิ่มเติมที่ปรึกษาทางการเงินรายอื่นได้ในอนาคต
กองทุนหลักจะเน้นลงทุนในบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SME) ในประเทศไทย โดยการเข้าไปถือหุ้นหรือซื้อกิจการ หรือการเข้าควบคุม เปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจหรือควบรวมกิจการในบริษัทที่มีความมั่นคง (Buy out strategy) รวมไปถึงบริษัทที่คาดว่ามีโอกาสเติบโตและสามารถขยายธุรกิจได้ (Growth) และ/หรือการเข้าซื้อบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากตลาด (Take-private transactions) ในช่วงระยะเวลาการลงทุน โดยส่วนอื่น ๆ ที่เหลืออาจลงทุนโดยตรงในบริษัทจดทะเบียน (Public equities) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible debt) Private credit และ/หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid instruments)
เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีการลงทุนในต่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจในประเทศไทย กล่าวคือ กองทุนนี้อาจมีการขยายบริษัทที่ลงทุนไปในประเทศในอาเซียน จีน เกาหลี หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้น ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของ Capital Commitments ทั้งหมด
กองทุนหลักอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient portfolio management) และ/หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหลัก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ไม่เกินร้อยละ 25 ของ Capital Commitments ทั้งหมด
นอกจากนี้ กองทุนหลักอาจทำธุรกรรมการกู้ยืม เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาต (รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนหลัก) และ/หรือเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดให้ได้มาซึ่งการลงทุน หรือเพื่อดำเนินกิจกรรมการลงทุนตามที่ได้รับอนุญาต โดยมีเงื่อนไขการกู้ยืมดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของ Capital Commitments ทั้งหมด
อนึ่ง กองทุนหลักคาดว่าจะมีการเรียกเงินลงทุนทั้งหมด (Total Committed Capital) เป็นจำนวนเงิน 150 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นจำนวนเงินลงทุนของชนิด class A จำนวน 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และชนิด class B จำนวน 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กองทุนหลักอาจใช้ดุลยพินิจในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหรือจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวได้
o กองทุนไม่มี Minimum Committed Capital โดยอายุโครงการประมาณ 9 ปี ซึ่งมีระยะเวลาที่ต้องลงทุนประมาณ 7 ปี และมีโอกาสขยายเวลาได้อีก 2 ปี (คราวละ 1 ปี ได้เป็นจำนวน 2 ครั้ง) กองทุนจะทยอยลงทุนตามที่กองทุนหลักมีการเรียกเงินลงทุน (Capital call) โดยถคาดหมายว่ากองทุนหลักจะสามารถลงทุนได้ครบภายในระยะเวลา 4 ปี (หรือเป็นไปตามระยะเวลาที่กองทุนหลักกำหนด) ทั้งนี้ ระหว่างรอเรียกเงินลงทุน กองทุนโดยมีจะมีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์และ/หรือตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง อาทิเช่น ตั๋วเงินคลัง (T-Bill) พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ เป็นต้น
o กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และ/หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และ/หรือตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) และ/หรือตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) และ/หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) รวมถึงอาจทำธุรกรรมกู้ยืมเงิน และ/หรือธุรกรรมขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repo) และ/หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่ระบุไว้ในโครงการ และ/หรือ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
o กองทุนอาจมีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้การบริหารจัดการเดียวกัน (Cross Investing Fund) ได้ ซึ่งกองทุนคาดว่าจะลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ อาทิ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้อื่น ๆ เป็นต้น และอาจลงทุนในสัดส่วนการลงทุนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจะทยอยลดสัดส่วนการลงทุนลงเมื่อมีการทยอยลงทุนตามที่กองทุนหลักมีการเรียกเงินลงทุน (Capital call) เพิ่มขึ้นจนครบตามจำนวนเงินลงทุนที่กองทุนหลักกำหนด
o กองทุนมีประมาณการผลตอบแทนภายใต้สถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุด (worst case scenario) จากการที่กองทุนหลัก
ทำธุรกรรมการกู้ยืม และลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ไม่เกินร้อยละ 45 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
o บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Feeder Fund) หรือกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในตราสาร และ/หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาด โดยเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน อนึ่ง บริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทกองทุนดังกล่าว โดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ และเว็บไซต์ของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
กลยุทธ์การบริหารกองทุน :
มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้ได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวผ่านการเน้นการลงทุนใน Private equity ของประเทศไทย
หมายเหตุ :
1 ภายใต้ VCC เดียวกัน สามารถจัดตั้ง Sub-Fund เพิ่มเติมขึ้นได้อีกหลายกองย่อย โดยมีนโยบายการลงทุนที่เป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายของประเทศสิงคโปร์ ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดของแต่ละ Sub-Fund จะถูกแยกออกจากกัน (Statutory segregation)
นโยบายเงินปันผล
ไม่มี
ตัวชี้วัด
ไม่มีวันจดทะเบียนกองทุน
27 ธันวาคม 2021
ชื่อผู้จัดการกองทุน
คุณพรเพ็ญ ชุลีประเสริฐ
คุณมนรัฐ ผดุงสิทธิ์
ระดับความเสี่ยงของกอง
กราฟแสดงมูลค่าหน่วยลงทุน
รายละเอียดการซื้อขาย
หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับแต่งตั้ง (ถ้ามี)