สรุปภาวะตลาด
สรุปภาพรวมการลงทุนในเดือนที่ผ่านมา
ในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นโดดเด่น ขณะที่ ตลาดในเอเชียมีทิศทางที่หลากหลาย โดยดัชนี อินเดียและเวียดนามปรับตัวขึ้น ขณะที่ ญี่ปุ่นและฮ่องกงปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยดัชนี S&P 500: +5.73%, ดัชนี Nasdaq: +6.30%, ดัชนี Stoxx Europe 600: +0.96%, ดัชนี CSI 300 ของจีน +0.66%, ดัชนี Nifty 50 ของอินเดีย + 2.91%, ดัชนี VN-30 เพิ่มขึ้น +1.82%, ดัชนี Nikkei 225 ของ ญี่ปุ่น -2.23% และดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง -4.40%
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในเดือนของการเลือกตั้งปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นตามคาด โดยเป็นผลมาจาก
1. ผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ (Trump 2.0) การเลือกตั้งสหรัฐฯ ส่งผลให้ Donald Trump และพรรครีพับลิกันสามารถครองเสียงข้างมากทั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี สภาบน (Senate) และสภาล่าง (House) ทำให้นโยบายของ Trump มีอำนาจเบ็ดเสร็จโดยไม่มีฝ่ายค้านขัดขวาง ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขจัดความเสียเปรียบทางการค้าและการแข่งขันที่ประเทศต้องเผชิญ โดยแต่ละนโยบายจะสร้างแรงกดดันต่อประเทศคู่ค้าและทำให้เม็ดเงินไหลเข้าตลาดฝั่งสหรัฐฯ ดังนั้น ภายหลังที่ผลการเลือกตั้งเริ่มชัดเจนจึงกดดันให้ค่าเงิน US Dollar แข็งค่าขึ้น 5% รวมถึงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มจาก 3.80% เป็น 4.20% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Sector ที่ได้รับประโยชน์จากจากนโยบายของ Trump อย่างนโยบาย Deregulation อย่างหุ้นกลุ่มหุ้นกลุ่ม Airlines, Automobiles, Oil & Gas, Investment Banking, Diversified Bank และ Consumer Finance ต่างปรับตัวขึ้นกว่า 20-30% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
2.โดยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้ง ภาคบริการ การค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาดีกว่าคาดการณ์
3. ผลประกอบการของดัชนี S&P 500 กำไรเฉลี่ยของบริษัทในดัชนี S&P 500 ในไตรมาส 3 เติบโต 8.2% YoY สูงกว่าคาดการณ์ที่ 6.9% โดยกลุ่มที่โดดเด่นได้แก่ Consumer Discretionary, Health Care, Utilities, Financials โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ หุ้นที่ถูกเทขายแม้กำไรเติบโตสูงคือ Nvidia ที่กำไรเติบโตกว่า 107% YoY จากความต้องการ AI Chips จาก Big Tech เช่น Microsoft และ Amazon แต่ราคาหุ้นกลับลดลงจากการขายทำกำไร รวมถึง Alphabet (Google) ที่ราคาหุ้นลดลง เนื่องจากผลของการถูกฟ้องร้องเรื่องการผูกขาดทางธุรกิจ
ตลาดหุ้นประเทศอื่น (ยุโรป, ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, และอื่นๆ)
ตลาดหุ้นยุโรป นั้นไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักในเดือนพ.ย. โดยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ อาทิเช่น ภาคอุตสาหกรรม, ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และภาคบริการนั้น ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งสอดคล้องกับผลประกอบการไตรมาส 3 ของดัชนี Stoxx Europe 600 ที่มีการหดตัว -1.1% YoY และออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เพียง 2.3% เท่านั้น โดยเศรษฐกิจยุโรปนั้น ยังคงมีการเติบโตในระดับต่ำ และได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อสินค้าจากประเทศจีนที่ชะลอตัวลง
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงในเดือนพ.ย. โดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI นั้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6% YoY ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.2% ในขณะที่ ตัวเลขการค้าปลีก และภาคอุตสาหกรรมนั้นเติบโตต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยตามข้อมูลจากรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้น ภาคการผลิตยังคงหดตัวสู่ระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย.จาก 49.2 ในเดือนต.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 49.5 ขณะที่ ภาคการบริการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับผลประกอบการไตรมาส 3 ของดัชนี Nikkei 225 ที่ถึงแม้ว่าจะมีการขยายตัว 16.2% YoY แต่ในภาพรวมนั้น ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 2.7% นอกจากนี้ ค่าเงินเยนนั้นได้มีการแข็งค่า 1.5% ในเดือนพ.ย. ซึ่งได้ถ่วงหุ้นกลุ่มส่งออกปรับตัวลง
ตลาดหุ้นจีน ในเดือน พ.ย. ปิดตัวบวกเล็กน้อย เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนใหม่ที่ชัดเจน ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบล่าสุดจากรัฐบาลจีน ซึ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นผ่านการเสริมสภาพคล่องด้วยวงเงินรีไฟแนนซ์ แทนที่จะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นการบริโภคโดยตรง ส่งผลให้ตลาดผิดหวังในด้านความคาดหวังต่อผลกระทบระยะสั้น
ตลาดหุ้นอินเดีย ดัชนี Nifty 50 มีความผันผวนอย่างมากในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับมูลค่าหุ้นที่ถูกมองว่าสูงเกินไป ผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทในอินเดียในไตรมาส 2 และการขายหุ้นอย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งทำให้ดัชนีเคลื่อนไหวสลับไปมาระหว่างกำไรและขาดทุน อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nifty 50 ปิดตลาดในเดือนพ.ย. ด้วยการปรับตัวในแดนบวก ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการลงทุนที่แข็งแกร่งของนักลงทุนสถาบันในประเทศ (DII) และการชะลอตัวของการขายสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ (FPI) ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอินเดียที่ยังคงแข็งแกร่ง แม้จะเผชิญกับความท้าทายในบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นไทย ในเดือนพ.ย. ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงหลังภาพรวมงบ Q3 แย่กว่าคาด โดยดัชนี SET เคลื่อนไหวในช่วง ปรับตัวในกรอบ 1,421.96 – 1,487.58 จุด ก่อนปิดสิ้นเดือนที่ 1,466.04 จุด ลดลง -2.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมี DELTA เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนดัชนี
ข้อมูลทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์สำคัญในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา
ศรษฐกิจสหรัฐฯ: เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. 2024 แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวในบางภาคส่วน แม้ยังคงเผชิญกับความท้าทายในบางด้าน โดยภาคการผลิตเริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นเป็น 48.4 จาก 46.5 ในเดือนต.ค. แม้ว่าจะยังคงต่ำกว่าระดับ 50 แต่การเพิ่มขึ้นนี้สะท้อนถึงการชะลอตัวที่ลดลง โดยเฉพาะในคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบแปดเดือน ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นในตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง และการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงปลายปี แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่าย ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในด้านตลาดแรงงาน แม้การจ้างงานจะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนในช่วงเดือนต.ค. แต่มีการคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานในเดือนพ.ย. จะปรับตัวดีขึ้น ขณะที่อัตราว่างงานคาดว่าจะยังคงทรงตัวที่ระดับ 4.1%
เศรษฐกิจจีน: เศรษฐกิจจีนในเดือนพ.ย. แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการฟื้นตัวในบางภาคส่วน โดยดัชนี PMI ของ Caixin/S&P Global ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.5 จาก 50.3 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 5 เดือน การเพิ่มขึ้นนี้มาจากคำสั่งซื้อใหม่และการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนนั้นมองว่าตัวเลขการส่งออกที่ดีนั้น ส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศที่ได้มีการเร่งซื้อสินค้าในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่ Donald Trump จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนม.ค. และปรับภาษีนำเข้าขึ้น ในขณะที่ ตัวเลขในภาคอสังหาฯของจีนนั้น ยังคงอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลขเงินเฟ้อในภาพรวมที่ยังบ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืด ซึ่งบ่งชี้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงปลายเดือนก.ย. นั้นยังคงไม่ได้ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจจีนมากนัก โดยนักลงทุนยังคงจับตามองการประชุมของรัฐบาลจีนในช่วงต้นเดือนธ.ค. ว่าจะมีมาตรการอะไรที่ชัดเจนกว่านี้ออกมาหรือไม่
เศรษฐกิจอินเดีย: เศรษฐกิจอินเดียในเดือนพ.ย. เผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดย GDP ในไตรมาส 3 เติบโต ขยายตัว 5.4% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดในรอบเกือบสองปี สาเหตุหลักมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต ลดลงสู่ระดับ 56.5 จาก 57.5 ในเดือนต.ค. สะท้อนถึงการเติบโตที่ชะลอตัวเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการเก็บภาษี GST และความต้องการในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นสัญญาณบวกเศรษฐกิจไทย: เศรษฐกิจไทยในเดือนต.ค. มีทิศทางในเชิงบวกโดยหลักๆ ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีการส่งออกเร่งตัวขึ้น 14.2% YoY และการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 17.1% YoY ส่งผลให้เกินดุลการค้า 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวเล็กน้อย -0.9% YoY แต่ดีขึ้นในด้านหมวดสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ขณะที่ ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 2.7 ล้านคน และรายรับจากการท่องเที่ยวขยายตัว 2.8% MoM ทางด้าน การลงทุนภาคเอกชน (PII) ขยายตัว 10.0% YoY ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลาย
ประเด็นที่น่าติดตามในเดือน ธ.ค. 2024
วันที่ | ประเทศ | ประเด็นที่น่าติดตาม |
4 ธ.ค. | US | รายงานสรุปภาวะเศรษฐกจิของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Beige Book) |
5 ธ.ค. | US | ตัวเลขดุลการค้าสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ ประจำาสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. |
6 ธ.ค. | TH | ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยในเดือน พ.ย. |
EU | ตัวเลข GDP SA ของสหภาพยุโรปในไตรมาส 3/2024 (สุดท้าย) | |
US | ตัวเลขการจา้งงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. | |
IN | การประชุมธนาคารกลางอินเดีย (RBI) | |
9 ธ.ค. | JP | ตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3/2024 |
12 ธ.ค. | EU | การประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) |
IN | ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดีย ในเดือน พ.ย. | |
US | ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต สหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ผู้ขออรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 7 ธ.ค. | |
17-18 ธ.ค | US | การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) |
18 ธ.ค | TH | การประชุมธนาคารกลางไทย (BOT) |
18-19 ธ.ค. | JP | การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) |
19 ธ.ค | UK | การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) |
US | ตัวเลข GDP และการบรโิภคส่วนบุลคลของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3/2024 (ครั้งสุดท้าย) | |
US | ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ธ.ค. | |
26 ธ.ค | US | ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ธ.ค. |
30 ธ.ค | TH | ตัวเลขเศรษฐกิจของไทย |
มุมมองและกลยุทธ์การลงทุน
แนวโน้มตลาด
สำหรับตลาดหุ้น การที่ FED ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้ความผันผวนเพิ่มขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตัวเลขภาคบริการและการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไนก็ตาม นักลงทุนควรติดตามท่าทีของ FED อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะถ้อยแถลงเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงินในปี 2025 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของสินทรัพย์เสี่ยงในอนาค
กลยุทธ์การลงทุน
พิจารณาใช้กลยุทธ์ "Barbell Strategy" ซึ่งเน้นการกระจายพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตสูง (Growth) และหุ้นที่เน้นความมั่นคงและปลอดภัย (Defensive) โดยแบ่งสัดส่วน 50% ในหุ้นกลุ่ม Growth เช่น เทคโนโลยีและนวัตกรรม และอีก 50% ในหุ้นกลุ่ม Defensive เช่น Utilities, Consumer Staples และหุ้นกลุ่ม Value การจัดสรรพอร์ตในลักษณะนี้จะช่วยลดความผันผวนและรับมือกับความไม่แน่นอนในตลาดได้ดี
แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ความผันผวนในตลาดยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง โดยนักลงทุนควรติดตามข้อมูลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์
คำแนะนำการลงทุน
- เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive และ Growth: โดยแนะนำหุ้นในกลุ่ม, Consumer Staples และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งจะสามารถรักษามูลค่าและเติบโตได้ดีในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน
- กระจายการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก: เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนจากตลาดที่มีศักยภาพเติบโต เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่อาจได้รับผลบวกจากการลดดอกเบี้ย
- การกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น และการซื้อหุ้นคืนในตลาดเพื่อช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว
- ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจและนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด: เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะสั้นและกลาง
- LHMEGA: กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยกองทุนมุ่งเน้นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการ Disruption ในหลากหลาย Sector รวมถึงค้นหาโอกาสที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง Value Chain
- LHDIVB: กองทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
- LHSPACE: กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น Space Economy มีโอกาสเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต
- LHUSFIN: กองลงทุนในหุ้นกลุ่ม Financial ในสหรัฐอเมริกา ตลาดใหญ่ของกลุ่มการเงินระดับโลก
Source: LHFUND, Bloomberg, Reuters, Trading Economy, investing.com
Data as of: 3 Dec 2024
เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือ
ได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือ ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน