สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์อีกครั้งหลังเฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้
เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3%, ดัชนี Nasdaq +2.9% และดัชนี StoxxEurope 600 +0.85% ในขณะที่ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.26% แต่ดัชนี CSI 300 ปรับตัวลดลง -0.70% และดัชนี Hang Seng -1.32%
- โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้กลับมาทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์อีกครั้ง หลังจากที่ธ.กลางสหรัฐฯ ได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยตลาดนั้นได้คลายความกังวลลง หลังจากที่คณะกรรมการ Fed นั้นได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ GDP ของสหรัฐฯในปีนี้ขึ้นจาก 1.4% เป็น 2.1% และปรับตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ขึ้นเพียง 0.2% และยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่า Fed นั้นจะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง (-0.75%) ภายในปีนี้ ถึงแม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนม.ค. และก.พ. นั้นจะออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดก็ตาม โดยนาย Jerome Powell นั้นได้กล่าวว่าตัวเลขเงินเฟ้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้น น่าที่จะปรับตัวสูงขึ้นชั่วคราวตามปัจจัยฤดูกาล โดยระดับเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงในปีนี้ นอกจากนี้ นาย Powell ยังได้กล่าวว่าทางธ.กลางสหรัฐฯ นั้นกำลังมีการเตรียมแผนที่จะเริ่มปรับลดมาตรการ Quantitative Tightening (หรือลดการดูดสภาพคล่องทางการเงินลง) หลังจากที่สภาพคล่องส่วนเกินในระบบนั้นได้ปรับตัวลดลงในระดับที่น่าพึ่งพอใจ และ Fed นั้นยังคงมีการจับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารสภาพคล่องในระบบการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- นอกจากธ.กลางสหรัฐฯ แล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาธ.กลางยุโรป (ECB), อังกฤษ (BOE) และออสเตรเลีย (RBA) นั้นได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ย แต่ทั้ง 3 ธนาคารนั้นได้เริ่มลดความกังวลต่อสถานการณ์เงินเฟ้อลง และได้เริ่มส่งสัญญาณถึงการลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง และโดยเฉพาะธ.กลางแห่งสวิสเซอร์แลนด์ (SNB) ที่ได้ทำการลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด
- ตลาดหุ้นฮ่องกง และจีน ได้กลับมาปรับตัวลดลงในสัปดาห์นี้ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำการออกร่างกฎหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อขัดขวางไม่ให้บริษัท และกองทุนในสหรัฐฯ นั้นสามารถลงทุนในหลักทรัพย์จีน และฮ่องกงได้ โดยมีการพูดถึงประเด็นถึงความไม่โปร่งใสในมาตรฐานทางบัญชี และความน่าเชื่อถือของงบทางการเงินต่างๆ
25 มีนาคม: ไทย การส่งออกของ Moc (กุมภาพันธ์) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 5% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 10%
29 มีนาคม สหรัฐ PCE Deflator (กุมภาพันธ์) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 2.5% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.4%
29 มีนาคม สหรัฐ การใช้จ่ายส่วนบุคคล (กุมภาพันธ์) (m-m) คาดว่าอยู่ที่ 0.5% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 0.2%
29 มีนาคม สหรัฐ การให้สัมภาษณ์ของ Fed Powell
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHUS มีกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนในกองทุนหลักทั้ง Baillie Gifford US Growth Fund และ Artificial Intelligence & Technology ETF (AIQ) เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรในระยะยาว ในหุ้นกลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์เติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Software, Innovative Healthcare, EV Car, Fintech, AI
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน