สรุปภาวะตลาด
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐแกร่ง ตลาดกังวลเงินเฟ้อคาดอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลายปี
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 และ NASDAQ (14-17 ส.ค.) ได้ปรับตัวลดลง -2.6% และ -3.3% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Shanghai composite และ Hang Seng index (14-18 ส.ค.) ปรับตัวลดลง -1.5% และ -4.4% ตามลำดับ SET Index ปรับตัวลดลง 16.04 จุด หรือ -1.04% สู่ระดับ 1,519.12 จุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้
- อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (10 year Treasury yields ซึ่งถือว่าเป็นดอกเบี้ย risk free rate ของตลาดโลก) ได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปีที่ 4.27% หลังจากที่ตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯในเดือนก.ค. นั้นเติบโต 0.7% m/m (มากกว่าตลาดคาดที่ 0.4%) เช่นเดียวกับ ตัวเลขการก่อสร้างบ้านใหม่, การผลิตภาคอุตสาหกรรม และผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเดือนก.ค. ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดทั้งหมด ซึ่งได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนเริ่มคาดการณ์ว่าระดับ GDP ของสหรัฐฯในไตรมาส 3 นั้นมีโอกาสที่จะเติบโตถึง 5% ตลาดนั้นได้เริ่มมีความกังวลว่าเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่งนั้น อาจจะทำให้ภาวะเงินเฟ้อนั้นกลับมาขึ้นอีกรอบ และอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องทำการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในช่วงปลายปี เช่นเดียวกับ การที่รัฐบาลของ Joe Biden และพรรค Democrats ที่ยังคงมีมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐฯ และก่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งยังคงทำให้กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ จะต้องออก Supply ของพันธบัตรรัฐบาลออกมาเพิ่มยิ่งขึ้น
- โดยอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น นั้นได้ส่งผลกดดันต่อหุ้นกลุ่ม Technology (ที่มีระดับ P/E สูง) และกลุ่ม Consumer Discretionary (ซึ่งมีความผันผวนต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค) ซึ่งเป็น 2 กลุ่มที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยตลาดยังคงมีการขายทำกำไร หลังจากที่บริษัทต่างๆ ได้ประกาศผลประกอบการในไตรมาส 2 ไปแล้ว
- ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีน โดยล่าสุดบริษัท Evergrande (ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาฯที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน) ได้ทำการยื่นล้มละลายต่อศาลสหรัฐฯ เพื่อปกป้องการยึดทรัพย์จากนักลงทุนในพันธบัตรในสกุลเงิน US dollar ซึ่งได้สร้างความกังวลให้แก่ตลาด ต่อแนวโน้มของบริษัทอสังหาฯอื่นๆที่จะตามมา และเป็นการซ้ำเติมตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ย่ำแย่ ทั้งการส่งออก, นำเข้า และการบริโภคในประเทศที่ลดลง ในขณะที่ตลาดเริ่มไม่ค่อยมีความมั่นใจว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนนั้น จะช่วยทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับมาได้หรือไม่ ในขณะที่ภาคบริการ และท่องเที่ยวนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงระดับเศรษฐกิจในภาพรวมได้
- โดยตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนก.ค. นั้น +3.7% y/y (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 4.3%) และตัวเลขค้าปลีกที่เติบโตเพียง 2.5% y/y (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 4%) เช่นเดียวกับตัวเลขภาคอสังหาฯ และการจ้างงานที่ออกมาต่ำกว่าคาดทั้งหมด
- ราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงราวๆ 3% w/w จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีน
- ในส่วนของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนได้ให้ความสนใจกับฤดูผลประกอบการในไตรมาส 2 โดยบริษัทในดัชนี SET100 นั้นมีผลกำไรต่ำกว่าที่ตลาดคาดโดยเฉลี่ย 5.75% y/y โดยจะมีเพียงกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศบางบริษัทที่มีผลกำไรดีกว่าที่ตลาดคาด ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ นั้นยังคงมีผลกำไรที่น่าผิดหวัง
- 21-ส.ค. จีน: 1-Year และ 5-Year Loan Prime Rate โดยตลาดคาดการณ์ว่าธ.กลางจีนจะทำการลดอัตราดอกเบี้ย 1 ปีจาก 3.55% เป็น 3.43% และ 5 ปี จาก 4.2% เป็น 4.05%
- 21-ส.ค. ไทย: GDP ไตรมาส 2 โดยตลาดคาดการณ์ GDP จะเติบโต 1.1% q/q และ 3.0% y/y (เทียบกับไตรมาส 1 ที่ +1.9% q/q และ 2.7% y/y)
- 23-ส.ค. ยุโรป: Eurozone Flash Manufacturing PMI (คาดการณ์เดือนส.ค.เบื้องต้น) โดยตลาดคาดการณ์ที่ 42.6 จุด ซึ่งต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ 42.7 จุด , Eurozone Flash Services PMI (คาดการณ์เดือนส.ค.เบื้องต้น) โดยตลาดคาดการณ์ที่ 50.5 จุด ซึ่งต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ 50.9 จุด
- 23-ส.ค. สหรัฐฯ: S&P US Flash Manufacturing PMI (คาดการณ์เดือนส.ค.เบื้องต้น) โดยตลาดคาดการณ์ที่ 49 จุด ซึ่งเท่ากับเดือนก.ค.
- 23-ส.ค. สหรัฐฯ: S&P US Flash Services PMI (คาดการณ์เดือนส.ค.เบื้องต้น) โดยตลาดคาดการณ์ที่ 52 จุด ซึ่งต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ 52.3 จุด
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นยังคงมีแนวโน้มอยู่ในการปรับฐานในระยะสั้น จากความกังวลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจจีน แต่อย่างไรก็ตาม ทาง LHFUND ยังมีมุมมองว่า ตลาดสหรัฐฯ จะยังคงสามารถปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ไปจนถึงปลายปีนี้ จากทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และทิศทางผลกำไรของบริษัทที่จะมีการฟื้นตัวใน 2H203 (สูงกว่า 1H2023) เช่นเดียวกับ ทิศทางเงินเฟ้อที่จะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากฐานที่สูงในปี 2022 ในขณะที่ธนาคารกลางของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกนั้น กำลังที่จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในปี 2024
- ตลาดหุ้นไทย จะยังคงถูกกดดันในระยะสั้น จากความยืดเยื้อในการจัดตั้งรัฐบาล และแนวโน้มของเศรษฐกิจจีน แต่อย่างไรก็ตาม ทาง LHFUND มองว่าตลาดหุ้นไทยนั้น อยู่ในภาวะที่ถูกขายมากเกินไป (Oversold) ในขณะที่ สถานการณ์การประท้วงที่ยังคงไม่มีความรุนแรง, ในขณะที่ภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศ ที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตในครึ่งปีหลัง รวมถึงราคาน้ำมันที่ยังคงส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงานต้นน้ำ
- กองทุนแนะนำ : เริ่มเห็นมีการ rotate จากกลุ่ม high growth เข้ากลุ่ม defensive value, cyclical เช่น น้ำมัน healthcare โดยแนะนำกอง LHDIVB LH Dividend and Buyback Fund มีน้ำหนักลงทุนในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง เช่น ในหุ้นกลุ่ม น้ำมัน healthcare industrial และ การเงิน