สรุปภาวะตลาด
"มุมมองต่อเหตุการณ์ ปัญหาธนาคาร Credit Suisse และผลกระทบกับต่อกองทุน LH Fund"
อัพเดทสถานะการลงทุนของ LHFund ที่เกี่ยวข้องกับ Credit Suisseแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก
1.ลงทุนในหลักทรัพย์ Credit Suisse โดยตรง - ไม่มี
2.ลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวม/หลักทรัพย์ ETF ต่างประเทศ ที่กองทุน Master Fund มีการลงทุนในหลักทรัพย์ของธนาคาร Credit Suisse
- LHGEQP ซึ่งมีการลงทุน 98.5% ใน ACWI US (iShares MSCI ACWI ETF) โดยกองทุน Master Fund มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น Credit Suisse ประมาณ0.01% ณ วันที่ 14 มี.ค. 2566 ของ ACWI US ETF
- LHGINCOME ซึ่งมีการลงทุน 76% ใน PIMINIA ID (PIMCO GIS Income Fund) โดย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2023 กองทุน Master Fund มีสัดส่วนในตราสาร Credit Suisse ประมาณ1.41% (โดยมีตราสารประเภท Additional Tier 1 ซึ่งจะถูก Written Off เพียง 0.19% โดยคิดเป็นสัดส่วนของกองทุน LHGINCOME ที่ 0.14%)
- LHGINCOMERMF ซึ่งมีการลงทุน 75% ใน PIMINIA ID (PIMCO GIS Income Fund) โดย ณ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2023 กองทุน Master Fund มีสัดส่วนในตราสาร Credit Suisse ประมาณ1.41% (โดยมีตราสารประเภท Additional Tier 1 ซึ่งจะถูก Written Off เพียง 0.19% โดยคิดเป็นสัดส่วนของกองทุน LHGINCOME ที่ 0.14%)
3.ลงทุนในบริษัทลูกของ Credit Suisse ผ่านการลงทุนใน กองทุนที่บริหารโดย Credit Suisse Asset Management ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่แยกกับธนาคาร Credit Suisse โดยกองทุนที่ Credit Suisse Asset Management จัดตั้งอยู่ภายใต้ Luxembourg UCITS Fund ซึ่งเป็นกองทรัพย์สินที่ แยก จากธนาคาร Credit Suisse โดยเด็ดขาด
- LHGREEN มีกองทุนหลักลงทุนในกองทุน Credit Suisse Environmental Fund โดยมีสัดส่วนในการลงทุน 86.79%
- LHROBOT มีกองทุนหลักที่ลงทุนในกองทุน Credit Suisse Robotics Fund โดยมีสัดส่วนในการลงทุน 91.39%
อนึ่ง การตัดสินใจเปลี่ยนกอง Master Fund ดังกล่าวนั้น เนื่องจากผลการดำเนินงานของกอง Master Fund เป็นหลัก การตัดสินใจดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนและ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาธนาคาร Credit Suisse แต่อย่างใด
อ้างอิงข้อมูลทรัพย์สินหน่วยลงทุนจาก LHFund Fund Fact Sheet ณ วันที่ 28 ก.พ. 2566
มุมมองต่อ Credit Suisse
สรุปเหตุการณ์
ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 หุ้น Credit Suisse Group ปรับตัวลง 20.3% จากข่าวความกังวลว่าธนาคาร Credit Suisse จะล้มเป็นรายถัดไปต่อจาก SVB Bank หลังผู้ถือหุ้นรายใหญ่ Saudi National Bank ที่ถือหุ้นใน Credit Suisse ประมาณ 9.9% ประกาศว่าจะไม่เพิ่มการลงทุนให้แล้ว เนื่องจากอาจเป็นการทำให้ถือหุ้นเกิน 10% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่มีได้ตามเกณฑ์ข้อบังคับของทางการ ทำให้นักลงทุนเป็นกังวลว่าบริษัทจะขาดสภาพคล่อง ทำให้อาจเป็นธนาคารรายถัดไปที่บริษัทจะล้มละลาย และอาจก่อปัญหาในภาคการธนาคารอื่นๆตามมา จึงมีแรงเทขายหุ้นออกมาอย่างหนัก และส่งผลกระทบ (Sentiment) ไปยังภาคการธนาคารอื่นๆทั่วภูมิภาค อย่างไรก็ตามล่าสุดธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ Swiss National Bank และ FINMA (Swiss Financial Market Supervisory Authority) ได้ออกแถลงถึงกรณี Credit Suisse ว่ายังมีสภาพคล่องเพียงพอ และหากจำเป็นธนาคารกลางทางการพร้อมให้สภาพคล่องเพื่อช่วยเหลือ เพื่อลดความกังวลต่อกลุ่มสถาบันการเงินโดยรวม ซึ่งช่วยลดความกังวลให้กับตลาดได้ในระดับหนึ่ง ในวันที่ 19 มีนาคม 2566 ธนาคาร UBS ที่ใหญ่อันดับ 1 ของสวิตเซอร์แลนด์ ตกลงซื้อ Credit Suisse ในราคา 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ธนาคารกลาง Swiss National Bank (SNB) ให้วงเงินกู้ยืมเพิ่มเติมกว่า 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ UBS เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการควบรวมกิจการ
ความเห็นของ LHFUND
ทาง LH Fund มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดแบบรุนแรงในระยะสั้น โดย base case ยังประเมินว่าอาจส่งผลแพร่กระจาย (Contagion Effect) ไปยังภาคการธนาคารและภาคธุรกิจอื่นๆ แบบวงจำกัด เนื่องจาก
- ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ได้ส่งสัญญาณเข้ามาให้ความช่วยเหลือแล้ว และมองว่าไม่น่าจะปล่อยให้ Credit Suisse ต้องล้มละลายเพราะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ มีธุรกรรมเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน (Too Big To Fail)
- เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานของบริษัท จะเห็นได้ว่าบริษัทมี Common Equity Tier 1 (CET1) ที่ดำรงไว้รับมือสภาวะวิกฤติอยู่ที่ 14.1% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ Basel 3 ที่กำหนดที่ 8% สะท้อนว่าบริษัทยังมีเงินทุนสำรองอยู่ในระดับสูง ช่วยลดความเสี่ยงของระบบการเงินในภาพรวม และหลายๆธุรกิจยังสามารถทำกำไรได้อยู่ โดยหากมีการปรับโครงสร้างและแก้ปัญหาต่างๆในองค์กรได้ จะทำให้บริษัทมีศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรกลับมา
- ระดับราคาที่ลดลงมากส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนวิตกกังวลมากเกินไป จนเกิด Panic Sell จากการที่ได้รับ Feed ข่าวลือเป็นจำนวนมากและเกินจริง (บางส่วนก็เป็นข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว) และอิทธิพลจากข่าวธนาคารที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอย่าง SVB Bank/Signature Bank/Silvergate
- การเข้าซื้อกิจการ ของ UBS ถือว่าได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงความกังวลกับระบบการเงิน
ทางบลจ.เชื่อว่าหากตลาดเริ่มคลายความกังวลและนักลงทุนกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารหลายๆตัวที่ปรับลงไปมากเริ่มกลับมาสะท้อนตามมูลค่าที่แท้จริง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน ซึ่งทางบลจ.จะยังคงติดตามความคืบหน้าในเหตุการณ์นี้อย่างใกล้ชิด และหากมีปัจจัยอื่นๆใดที่เปลี่ยนไปจากสมมติฐานหลักของทีมผู้จัดการกองทุนอย่างมีนัยสำคัญ ทางบลจ.จะมีรายงานออกมาแจ้งให้นักลงทุนทราบเพิ่มเติม
ที่มา LH Fund
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน