สรุปภาวะตลาด
“เริ่มเห็นความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น อาจนำมาสู่ Risk-off mod”
ตลาดหุ้นหลักๆ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1%-3% กดดันโดยความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังสหรัฐฯ ประกาศ sanction บริษัทจีนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยาน 6 บริษัท และยิงทำลายวัตถุต้องสงสัยที่ชายฝั่งอลาสก้าช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น หลังทำลายบอลลูนต้องสงสัยของจีนในสัปดาห์ก่อน ขณะที่ US Bond yield 2, 10 ปี และ Dollar Index เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.5%, 3.7% และ 103.6 จุด เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วเทียบกับช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ 4.1%, 3.4% และ 101 จุด ตามลำดับ
- เงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานของสหรัฐฯ เดือน ม.ค.? คาด +0.4% เทียบเดือนก่อนทั้งเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐาน
- ผลประกอบการไตรมาส 4/2565 ของบริษัทไทยในกลุ่ม Real sector ซึ่งจะมีผลต่อการปรับประมาณการณ์กำไรต่อหุ้น
- ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk) ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน หลังสหรัฐฯ ประกาศ sanction บริษัทจีนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยาน 6 บริษัท
- ระยะสั้น คาดตลาดหุ้นมีแนวโน้มอ่อนแรงลงเพื่อติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยมีโอกาสที่เงินเฟ้อจะสูงกว่าคาดหลังมีการปรับน้ำหนักการคำนวณเงินเฟ้อสหรัฐฯ ใหม่ ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานในเดือนตุลาคม-ธันวาคม ล้วนถูกปรับเพิ่มขึ้น เราคิดว่าประเด็นดังกล่าว และความขัดแย้งสหรัฐฯ - จีน อาจนำมาสู่ Risk-off mode จึงแนะนำ Take profit บางส่วนรอจังหวะเข้าลงทุน (โดยกองทุนที่จะได้รับผลกระทบแรงคือหุ้นกลุ่ม growth และหุ้นจีน)
- ระยะกลางยาว เราแนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยมองว่าดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงในครึ่งปีหลัง และเศรษฐกิจที่อาจไม่ชะลอตัวรุนแรงจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนความน่าสนใจลงทุนในหุ้น
- หุ้นไทย แนะนำกองทุน LHSTRATEGY ที่ช่วยลดความเสี่ยงขาลง และกองทุน LHMSFL ที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลางเล็กแต่โอกาสเติบโตสูง ซึ่งมีโอกาสที่จะทำผลงานได้ดีในช่วงที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลออกหากผลประกอบการณ์เป็นไปตามคาด
- หุ้นเวียดนาม แนะนำกองทุน LHVN ที่เหมาะกับการทยอยลงทุนระยะยาว 5 ปี ขึ้นไป จากศักยภาพการเติบโตเวียดนาม แม้อาจมีความผันผวนสูงในระยะสั้น
- PF, REITs, IFF ไทย ที่เงินปันผลที่สูงและฟื้นตัวต่อเนื่อง แนะนำทยอยลงทุนกองทุน LHTPROP
- กองทุนทองคำ ที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาทองคำจากการเข้าซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing, Reuters 12 ก.พ. 66
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน