Tips & Tricks
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ คือ ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เข้าใจภาวะเศรษฐกิจในสถานการณ์ต่างๆได้ ซึ่งเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ มีความซับซ้อน และองค์ประกอบมากมายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องใช้สมมติฐานหลากหลาย ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทตัวชี้วัดได้ดังนี้ 1. ดัชนีชี้นำ (Leading Indicator) 2. ดัชนีชี้พ้อง (Coincident Indicator) 3. ดัชนีชี้ตาม (Lagging Indicator) ซึ่งแต่ละตัวจะสะท้อนออกมาตามการขยายตัว หรือหดตัวทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดที่สำคัญๆซึ่งเรามักจะเห็นในรายงานทางเศรษฐกิจ มีดังนี้
- ตัวชี้วัดการจ้างงาน : ได้แก่ ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน ซึ่งควรดูประกอบกับรายงานด้านแรงงานและเงินเดือนนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm payrolls) เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของตลาดแรงงาน และอาจจะพิจารณาห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ทั้งหมดเพื่อให้รู้แนวโน้มทางเศรษฐกิจ
- ตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ : ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เผยแพร่โดยสำนักสถิติแรงงาน (BLS) ใช้เพื่อประเมินแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งมักใช้ PPI ในการคาดการณ์ CPI โดยทั้งสองดัชนีมีความเชื่อมโยงทางสถิติ ซึ่งตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น???
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) : จะมีการประมาณการตัวเลข ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งการเบี่ยงเบนไปจากช่วงเหล่านี้จะกระทบความกลัวต่อภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะถดถอย และอาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของตลาด โดยอาจจะติดตามข้อมูลอื่นๆประกอบ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และรายงานด้านแรงงาน เพื่อคาดการณ์การดำเนินการทางเศรษฐกิจ
การทำความเข้าใจและเหตุผลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ควรดูตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆควบคู่กัน และใช้ในบริบทที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถปรับแนวทางการพิจารณาตัวชี้วัดตามความเหมาะสม โดยใช้ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจพื้นฐานของ indicator ต่างๆ เข้ากับกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินของตนเอง และถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวชี้วัดที่เฉพาะเจาะจงในการกำหนดการตัดสินใจซื้อหรือขาย แต่การใช้ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ และการจัดการ
พอร์ตโฟลิโอที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแก่นักลงทุนได้