LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด





สรุปภาวะตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (ต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และในช่วง 6 เดือนข้างหน้า) พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิดในปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการณ์เชิงบวกของภาคธุรกิจ และสถาบันการเงิน โดยงเอสแอนด์พีเผยดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น สูงที่สุดในรอบ 30ปี ในช่วงเดือนที่ผ่านมาหลังจากที่มีการปรับตัวขึ้นติดต่อกันมา 11เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากกอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของผู้ซื้อบ้านและสต็อกบ้านที่ตึงตัว
ถึงแม้ตัวเลขการบริโภคและการลงทุนในประเทศจะยังคงขยายตัว YoY จากฐานที่ค่อนข้างต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่การ Lockdown บางภาคส่วนที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้นต่อการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยเริ่มเห็นได้จากเครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการบริโภครายเดือน (PCI -3.1% MoM) และการลงทุน (PII -2.3% MoM) ของภาคเอกชนที่เริ่มมีการหดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งๆที่ราคาสินค้าเกษตรยังคงเติบโตในระดับสูงติดต่อกันในช่วงที่ผ่านมา โดยภาคการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอมากเช่นเดิม มีจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 6.1 พันคน (vs. 8.5 พันคนในเดือนที่แล้ว) ซึ่งยังเป็นผลจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังเข้มงวดสูงทั่วโลก
มาตรการ Lockdown ที่เพิ่งประกาศเพิ่มเติมเมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งครอบคลุมไปถึงการห้ามรับประทานอาหารในร้านอาหาร การห้ามรวมกลุ่มกันเกินกว่า 20 คน และ การสั่งปิดไซต์งานและแคมป์ก่อสร้าง ในบริเวณพื้นที่ กรุงเทพ และปริมณฑล เป็นระยะเวลา 1 เดือน น่าจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวที่เปราะบางของเศรษฐกิจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
การเริ่มต้นของโครงการ “Phuket Sandbox” ในวันพฤหัสที่ผ่านมา (และแผนการเริ่มรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ในอีกสองอาทิตย์ข้างหน้า) ตามนโยบายการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติใน 120 วันของทางรัฐบาล ท่ามกลางตัวเลขค่าเฉลี่ยผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นสู่ฐานใหม่ อาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศในช่วงครึ่งหลังของปีออกมาต่ำกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้มาก (ททท.คาดการณ์ไว้ที่ 130,000 คน)
ธปท. ให้ความเห็นต่อเรื่องการลดดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลตามความกังวลของทางรัฐบาลว่าตัวธปท. เองไม่มีอํานาจในการกํากับดูแลการดําเนินงานของ บริษัทการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์มากนัก อย่างไรก็ดี ธปท.จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือในส่วนของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของธปท. เช่น การจูงใจธนาคารให้ช่วยปรับโครงสร้างสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ การปรับดอกเบี้ยค้างชำระ การทำโครงการโกดังแก้หนี้ เพื่อช่วยผู้ประกอบการณ์แทน

ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
 
ติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะประกาศในอาทิตย์นี้เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงว่าต่อทิศทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่อาจมีการปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ อาจเริ่มบังคับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์
ติดตามตัวเลข PMI ของกลุ่มเศรษฐกิจหลัก (เช่น ญี่ปุ่น จีน และ ยุโรป) ที่จะประกาศในอาทิตย์นี้ และ การประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศ G20 ซึ่งจะมีการคุยกันเรื่องนโยบาย Global minimum tax rate ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับ วิธีการดำเนินธุรกิจ และ การย้ายฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่ขยับสูงขึ้นอีกครั้งจากการกลายพันธ์ของเชื้อไวรัส โดยเราแนะนำจับตาสถานการณ์การติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งของแต่ละกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการฉัดวัคซีนไปแล้วจำนวนมากเมื่อเทียบกับอัตราจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความสามารถของวัคซีนแต่ละชนิดในการจัดการหรือป้องกันเชื้อกลายพันธ์ชนิดต่างๆ โดยเรามองว่าปัจจัยนี้จะบ่งบอกถึงแนวโน้มและ ความเสี่ยง ของมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ นโยบายการเปิดประเทศ และ แผนการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลในอนาคต
การเร่งตัวขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศสู่ระดับ 5,000 – 6,000 คน ยังคงเป็นอีกปัจจัยหลักที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ โดยเราให้ความสำคัญกับจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักที่มีค่อนข้างจำกัดและนโยบายของรัฐบาลต่อการปรับใช้สถานที่และการระดมบุคลกรทางการแพทย์จากภึส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณสุขเพื่อที่จะรองรับจำนวนผู้ป่วยที่มีอัตราเร่งตัวสูงขึ้น 
ติดตามทิศทางค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง และ ตัวเลข

ความเห็นผู้จัดการกองทุน



เรามองว่าการปรับตัวลงของ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ และวงเงิน Reverse Repo ของ Fed น่าจะบ่งชี้ได้ว่าตลาดได้คลายความกังวลในเรื่องนโยบายการเงินของ Fed ลงไปบางส่วน อย่างไรก็ตามเรามองว่าการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ และ แรงเทขายอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดเอเชีย จะยังคงเป็นปัจจัยภายนอกที่คอยกดดันตลาดไปตลอดในช่วงเดือนนี้ โดยเรายังคงกังวลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่เริ่มมีกระจายตัวไปสู่จังหวัดต่างๆมากขึ้น โดยเรามองว่า สัดส่วนการตรวจพบผู้ติดเชื้อ ต่อ จำนวนการตรวจที่เริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นสัญญาณเชิงลบที่บ่งชี้ถึงสถานการณ์การระบาดที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น เรามองเห็นความเสี่ยงที่ทางรัฐบาลจะมีการปรับมาตรการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงเดือนนี้ ซึ่งจะสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะสั้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมากองทุนภายใต้การจัดการของ LHFUND ก็ได้มีการคงสัดส่วนการลงทุน ในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะมีผลประกอบการณ์แข็งแกร่ง และ กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท และมีการปรับลดสัดส่วนหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศลง โดยกองทุนแนะนำยังคงเป็น กอง LHGROWTH LHSELECT และ LHMSFL เนื่องจากยังคงมองว่าหุ้นกลุ่มเติบโต (Growth Stock) รวมถึงหุ้นขนาดกลางและเล็กจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าผลตอบแทนของตลาด 

โดยแนวรับของตลาดที่เหมาะกับการเข้าลงทุนนั้นคือช่วงระดับของ SET Index ที่ระดับ 1,570 – 1,550 จุด และแนวต้านที่ 1,620 - 1,640 จุด

ที่มา LHFund วันที่ 5 ก.ค. 64
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน







 


 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ