LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด

หุ้นไทย..ดูดีต่อเนื่อง





สรุปภาวะตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
กรมศุลกากรประกาศตัวเลขภาคการส่งออกและนำเข้าประจำเดือนเมษายน 2564 โดยการส่งออกขยายตัว  ส่วนการนำเข้าขยายตัว  ซึ่งการส่งออกนั้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงสามารถขยายตัวได้ในอัตราที่ดีต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้ากลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้แก่สินค้าเชื้อเพลิง +45.1% สินค้าอุปโภคบริโภค +40.8% สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป +29.1% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าเพื่อผลิตและส่งออก ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและคาดว่าการส่งออกจะดีได้ต่อเนื่อง
ในวันที่ 25 พ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ “พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564” วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงิน หรือออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2022  แบ่งออกเป็น
o แผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของ COVID19 วงเงิน 30,000 ล้านบาท
o แผนงานเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID19 วงเงิน 300,000 ล้านบาท
o แผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID19 วงเงิน 170,000 ล้านบาท
วงเงิน 500,000 ล้านบาทดังกล่าวข้างต้นนั้นคิดเป็นประมาณ 3% ของ GDP ไทย และกระทรวงการคลังคาดว่าจะสามรถทำให้ GDP สามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก 1-1.5% ถ้าสามารถจัดสรรและกระจายเงินเข้าสู่เศรษฐกิจได้ภายในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามจะทำให้หนี้สาธารณะอาจจะปรับเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับใกล้ 60% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับตามกรอบของพรบ.วินัยการคลัง
EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอีก -5 แสนบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 484.3 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (21 พ.ค.) ซึ่งการปรับตัวลดลงโดยหลักเป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการคลาย Lockdown และผลจากช่วง Driving Season ในสหรัฐฯ (เม.ย. - ส.ค.) ซึ่งเป็นช่วง Peak ของการใช้น้ำมัน
จำนวนผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ลดลง 3.8 หมื่นราย เป็น 4.06 แสนราย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดรุนแรงของ COVID-19 ในกลางเดือน มี.ค. 2020 และดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 4.25 แสนราย
GDP ของสหรัฐอเมริกางวดไตรมาสที่ 1 ออกมาที่ 6.4% QoQ, saar ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.5% เล็กน้อย
มีวัคซีนทางเลือกเพิ่มขึ้นอีก 1 ยี่ห้อได้แก่ Sinopharm ซึ่งไม่อยู่ใน timeline ที่ภาครัฐให้ในช่วงแรก โดยเป็นการนำเข้ามาเพื่อกระจายโดยจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 1 ล้านโดส หลังจากที่ทางสำนักงานอาหารและยา (อย.) และถ้ามีวัคซีนนอกเหนือจากที่อยู่ใน timeline ของภาครัฐก็จะเป็นปีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นได้


ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
 
พ.ร.ก. เงินกู้ฯ 5 แสนล้านบาท ที่ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27-28 พ.ค. ว่าจะสามารถผ่านการพิจารณาได้ทันหรือไม่และมีรายละเอียดของการใช้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้านใดบ้างเป็นวงเงินเท่าใด
ตัวเลขของวัคซีนที่จะเข้ามารวมถึงไทม์ไลน์ว่าจะสามารถกระจายและฉีดให้แก่ประชาชนทั่วไปจะสามารถเริ่มได้เมื่อไร และอัตราการฉีดต่อวัน โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงเข้ม
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือน เมษายน ของธปท. และดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index) เดือน เมษายน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน โดยกระทรวงพาณิชย์
ดัชนี PMI ของประเทศเศรษฐกิจสำคัญที่จะทยอยประกาศในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจถ้าตัวเลขออกมาดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
ติดตามความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาวของปธน. Joe Biden ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและเจรจาเพื่อเสนอเข้าสภาคองเกรส โดยสมาชิกวุฒิสภาพรรค Republican เมื่อวานนี้ ได้เสนอมาตรการที่วงเงิน USD928bn (เบิกจ่ายเป็นระยะเวลา 8 ปี เช่นเดียวกับของปธน. Biden) โดยจะเน้นโครงสร้างพื้นฐานจริงๆ ได้แก่ ถนน, สะพาน, เครือข่าย Broadband และโปรเจคขนาดใหญ่ (USD506bn) และขนส่งสาธารณะ (USD98bn) ทั้งนี้ พรรค Republican ยังยืนกรานจะไม่ยอมปรับขึ้นภาษีเพื่อนำมาจ่าย แต่ระบุส่วนหนึ่งจะนำเงินที่เหลือจากมาตรการลดทอนผลกระทบ COVID-19 มาจ่าย และกำลังพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ เช่น เก็บค่าธรรมเนียมการใช้รถยนต์ EV เป็นต้น ซึ่งในเบื้องต้นปธน. Biden ให้เวลาจนถึงสิ้นเดือนนี้ในการเจรจากับพรรค Republican ขณะที่นาง Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนฯ ได้ระบุก่อนหน้านี้ว่าต้องการให้มาตรการดังกล่าวมีความชัดเจนภายในวันที่ 4 ก.ค. และผ่านเป็นกฎหมายเสร็จสิ้นก่อนที่สภาฯ จะหยุดทำการในช่วงต้นเดือน ส.ค.



ความเห็นผู้จัดการกองทุน
 
จากที่เห็นว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ในระดับที่ดีได้ต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดเริ่มคลายความกังวลด้านการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ จึงยังคงเห็นว่าหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclical น่าจะยังคงเป็นหุ้นกลุ่มหลักที่จะได้ประโยชน์จากกปัจจัยดังกล่าว ประกอบกับในไทยเองยังคงมีหุ้นที่อาจจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวดังกล่าวนอกเหนือจากหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclical ได้แก่ หุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกที่จะทำให้ผลการดำเนินงานเติบโตได้ต่อเนื่อง เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งยังคงเห็นว่าการลงทุนที่เหมาะสมคือการลงทุนในทั้งกลุ่ม Value, Cyclical และ Growth จึงยังคงเห็นว่า LHGROWTH และ LHSELECT รวมถึงกองทุนประเภทลดหย่อนภาษีได้แก่ LHSMARTDSSF ยังคงเหมาะสมกับการลงทุนในช่วงนี้อยู่เนื่องจากมีการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่รวมถึงหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตของผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ดีและได้ประโยชน์จากการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองการลงทุนของเรา แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลักคือเรื่องของการแพร่ระบาดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ดีพอที่จะเปิดให้มีกิจกรรมกลับมาตามปรกติได้อาจจะส่งผลต่อตัวเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะการบริโภคซึ่งอาจจะส่งผลต่อตลาดหุ้นได้จึงแนะนำให้ลงทุนเพียงบางส่วนเพื่อรอดูปัจจัยดังกล่าวว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่ โดยแนวรับของตลาดที่เหมาะกับการเข้าลงทุนนั้นคือช่วงระดับของ SET Index ที่ระดับ 1,550 – 1,540 จุด และแนวรับถัดไปที่ระดับ 1,510 จุด

ที่มา LHFund วันที่ 28 พ.ค. 64
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน



 


 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ