สรุปภาวะตลาด

‘ทรัมป์’ กลับลำขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) เพียง 10%
เปิดทางการเจรจา 90 วันกับนานาประเทศ ยกเว้น ‘จีน’
ในที่สุดเพียงประมาณ 13–14 ชั่วโมงหลังจากที่มาตรการภาษีนำเข้าฉบับใหม่ของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวานที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศปรับเปลี่ยนจุดยืนอย่างมีนัยสำคัญ
1.ประกาศเลื่อน US discounted reciprocal tariff เป็นระยะเวลา 90 วัน
ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศชะลอการจัดเก็บภาษีนำเข้าที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า เป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับประเทศคู่ค้ากว่า 75 ประเทศ ซึ่งยังไม่ได้ใช้มาตรการตอบโต้รุนแรงต่อสหรัฐฯ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว จะใช้อัตราภาษีที่ปรับลดลงเหลือ 10% เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาในระดับทวิภาคี
2.ยกเว้น "จีน" จากมาตรการผ่อนปรน
จีนไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้รับการผ่อนปรน เนื่องจากได้แสดงท่าทีตอบโต้สหรัฐฯ อย่างชัดเจน โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศ ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% ทันที ซึ่งสะท้อนถึงความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงระหว่างสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับที่จีนแสดงท่าทีแข็งกร้าว ด้วยการประกาศมาตรการภาษีตอบโต้เพิ่มเติมรวมที่ 84% เมื่อวานนี้
การตอบสนอง และมุมมองของตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ ขานรับเชิงบวกอย่างมาก ดัชนีดาวโจนส์ +7.8%, S&P500 +9.5% และ NASDAQ +12.1% เป็นหนึ่งในการพุ่งขึ้นเพียงวันเดียวที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ และส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวมในวันนี้ โดย หุ้นเอเชีย เช้านี้เปิดบวก (10 เม.ย.) โดยดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น +8.3 %, ดัชนี TAIEX ของไต้หวัน +9.2% , HSI ของฮ่องกง +2.2% และ CSI 300 +1.0%
ผลกระทบและแนวโน้ม
ทิศทางสถานการณ์เริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อปรากฏชัดว่า ‘จีน’ คือเป้าหมายหลักของสหรัฐฯ ในการเปิดเกมการค้า ขณะที่ ประเทศอื่น ๆ ถูกดึงเข้าสู่กระบวนการเจรจา ในฐานะกลยุทธ์เชิงต่อรองของสหรัฐฯ เพื่อลดแรงต่อต้านและเพิ่มอำนาจต่อรองในการเผชิญหน้ากับจีนโดยตรง ซึ่งทำให้แรงกดดันหันกลับไปยังจีนมากขึ้น
ขณะที่ ท่าทีของนานาประเทศที่มีต่อสหรัฐฯ เป็นไปในทิศทางประนีประนอมตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

- สหภาพยุโรป (EU) ได้มีมาตรการตอบโต้ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (9 เม.ย.) โดยมุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มาจากรัฐซึ่งสนับสนุนพรรครีพับลิกัน (Red Sweep) มาตรการดังกล่าวครอบคลุมสินค้านำเข้ามูลค่าราว 24.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการตอบโต้เฉพาะต่อ ภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งแม้จะถือเป็นก้าวสำคัญในการแสดงจุดยืน แต่การตอบโต้ของ EU ยังคงครอบคลุมมูลค่าสินค้าน้อยกว่า มาตรการภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกโลหะของ EU เป็นวงเงินรวมกว่า 28.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีของ EU ที่ยังคงระมัดระวัง และเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรอง
- ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม ต่างเร่งเปิดช่องทางเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระแทกจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ที่กระทบต่อการค้าและการลงทุนในประเทศ
ทั้งนี้ นักลงทุนควรติดตามท่าทีของประเทศต่างๆ ที่เร่งเปิดการเจรจากับสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเจรจาในครั้งนี้ อาจไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ประเด็นภาษีและการค้า แต่มีแนวโน้มเชื่อมโยงไปถึงวัตถุประสงค์เชิงโครงสร้างที่ลึกกว่านั้น โดยเฉพาะประเด็นด้านการเงินระหว่างประเทศ เช่น การจัดการกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่กำลังทยอยครบกำหนดในช่วงเวลาอ่อนไหวของเศรษฐกิจโลก
ข้อเสนอแนะการลงทุน
เราขอแนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตเข้าสู่ท่าทีเชิงป้องกันอย่างเต็มที่ เนื่องจากความเสี่ยงของความผันผวนของตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้ม "เข้ามาแทรกแซงช้าลง" เนื่องจากแรงกดดันจากต้นทุนภาษีและเงินเฟ้อ
2.เรามีมุมมอง “Underweight” ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยแนะนำให้ ทยอยปรับพอร์ตการลงทุน ไปยัง Developed Market อื่นอย่าง ยุโรป ทั้งในส่วนของตราสารหนี้และตราสารทุน เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปจะได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการเงินและการคลัง และ/หรือ อินเดียที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูงอันดับต้นของโลกจากการพึ่งพิงปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก และ/หรือ จีน เนื่องจาก Valuation ที่ต่ำ และโอกาสจากโอกาสจากมาตรการสนับสนุนนโยบายภายในประเทศ
3.เรามีมุมมอง “Neutral” ต่อ ตลาดญี่ปุ่น จากการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ขยายตัว สะท้อนผ่านการฟื้นตัวของทั้งราคาที่อยู่อาศัยและรายได้แรงงาน รวมถึงเป็นประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษีไม่มาก เพราะน่าจะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะมีการเจรจากับสหรัฐฯ
4.เรา แนะนำ “ทองคำ” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากบทบาทสินทรัพย์หลบภัย (safe haven) อีกทั้ง ธนาคารกลางจีน (PBOC) ทยอยลดสัดส่วนการถือครอง US Treasuries และเสริมเสถียรภาพทุนสำรองระหว่างประเทศด้วยทองคำแทน
กองทุนแนะนำ
- LHGIGO: กองทุนตราสารหนี้ คุณภาพทั่วโลกเน้นความมั่นคง เหมาะสำหรับรับมือภาวะตลาดผันผวนในปัจจุบัน
- LHGEQ: กองทุนหุ้นโลกคุณภาพ เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง และมีประวัติการทำกำไรและมีงบดุลที่แข็งแกร่ง โดยมีการวิเคราะห์แบบ bottom up เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
- LHGOLD: กองทุนทองคำ ลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ช่วยกระจายความเสี่ยงและรับมือความผันผวนของตลาด
- LHEUROPE: กองทุนหุ้นยุโรป ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในทวีปยุโรปเป็นหลัก
- LHINDIEAE: กองทุนหุ้นอินเดีย ลงทุนในหุ้นอินเดีย รับโอกาสจากการเติบโตของอินเดียจากปัจจัยภายในเป็นหลัก
- LHCHINA: กองทุนหุ้นจีน ลงทุนในหุ้นจีนเพื่อรับโอกาสจากมาตรการสนับสนุนนโยบายภายในประเทศ
ทั้งนี้ นักลงทุนอาจพิจารณา LHGIGO และ LHGEQ เป็น Core Portfolio และควรจัดสรรน้ำหนักการลงทุนใน LHINDIAE LHEUROPE LHCHINA และ LHGOLD เป็น Satellite Portfolio โดยรักษาวินัยในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้แนวทางล็อกกำไร (Profit Locking) และป้องกันความเสี่ยง (Stop Loss) อย่างเคร่งครัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน
Core | LHGIGO | 50% |
LHGEQ | 30% | |
Satellite | LHEUROPE และ/หรือ LHINDIAE และ/หรือ LHCHINA | 20% |
LHGOLD | 5-10% |
* ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าในประเด็นภาษีและการเจรจาอื่นๆจะดำเนินการออกรายงานฉบับต่อไป
** หมายเหตุ กอง LHGIGO เริ่ม IPO วันที่ 21 เม.ย. 2025
Source: Reuters, CNBC
as of 10 เม.ย. 2025
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื่องจากกองทุน ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้