สรุปภาวะตลาด

ภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ความไม่แน่นอนที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระดับภาษี Reciprocal Tariffs สูงถึง 10-49% ในกว่า 50 ประเทศ ที่สวนกุหลาบ ทำเนียบขาว เมื่อ 3.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ประกอบด้วย
1. ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าขั้นต่ำ 10% สำหรับทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ 5 เม.ย. 2025 เป็นต้นไป
2. เก็บภาษีในรูปแบบที่ทรัมป์เรียกว่า ‘ภาษีตอบโต้แบบมีส่วนลด’ (discounted reciprocal tariff) โดยจะมีผลตั้งแต่ 9 เม.ย. 2025 เป็นต้นไป โดยหลักๆ ประเทศที่ได้รับผลกระทบ อาทิ
จีน: 34% ซึ่งเมื่อรวมกับภาษี 20% ที่มีอยู่เดิม และภาษีอาจรวมสูงกว่า 54%
เวียดนาม: 46%
ไทย: 36%
ไต้หวัน: 32%
อินเดีย: 26%
เกาหลีใต้: 25%
ญี่ปุ่น: 24%
สหภาพยุโรป (EU): 20%
3. เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ทุกประเทศ 25% โดยมีผลทันที
สินค้าที่ได้รับการยกเว้น
- อะลูมิเนียม, เหล็ก และรถยนต์ที่มีการเก็บภาษีแบบ sector tariff อยู่ก่อนแล้ว
- สินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกตามข้อตกลง USMCA
- สินค้าเช่น ทองแดง, ยารักษาโรค, เซมิคอนดักเตอร์, ไม้ซุง, ทองคำแท่ง และพลังงานที่สหรัฐฯ ไม่มีหรือผลิตเองไม่ได้ (แต่ไม่ได้การันตีว่าจะถูกเรียกเก็บเพิ่มเติม) การประกาศครั้งนี้ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิม 7.1% เป็น 21.5% ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1909
ฟิวเจอร์สดัชนี Dow Jones ร่วง 1 2.5% ฟิวเจอร์สดัชนี S&P 500 ลดลง 3.6% ฟิวเจอร์สดัชนี Nasdaq-100 ร่วงหนักถึง 4.5% หุ้นบริษัทข้ามชาติร่วงแรง ในการซื้อขายนอกเวลาทำการ โดย Nike และ Apple ร่วงประมาณ 7% ขณะที่ หุ้นเอเชียร่วงหนักในเช้านี้ หุ้นญี่ปุ่น 3.5% เกาหลีใต้และฮ่องกงร่วงเกือบ 2% ขณะที่อินเดีย ลดลง 0.34% โดยนักลงทุนต่างกังวลถึงความเป็นไปได้ของสงครามการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทใหญ่ ๆ และฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบและแนวโน้ม
ผลกระทบต่อประเทศที่พึ่งพาการส่งออก
ผลกระทบต่อสหรัฐฯ
แรงกดดันเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น บั่นทอนความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ เอง ซึ่งอาจกดดันให้ Fed ต้องชะลอเวลาการลดดอกเบี้ยนโยบายออกไป และอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เอง
แนวโน้ม
การประกาศอัตราภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ล่าสุดของสหรัฐฯ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาวิธีการคำนวณที่ใช้นั้น มีลักษณะที่ทำให้ตัวเลขภาษีที่เรียกเก็บดู ‘สูงเกินจริง’ โดยสูตรที่นำมาใช้คือ: Trade Balance / มูลค่านำเข้าสหรัฐฯ = Implied Tariff แล้วหาร 50% (อ้างว่าลดให้) กล่าวคือ หากประเทศใดมีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ สูง ตัวเลข ‘Implied Tariff’ ที่คำนวณออกมาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของนโยบายนี้ จึงอาจไม่ใช่แค่การขึ้นภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ แต่คือ การกดดันให้ดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าหลัก ‘ลดลง’ อย่างมีนัย
นักลงทุนอาจจำเป็นต้อง จับตามองท่าทีของประเทศต่างๆ ที่เชื่อว่าจะเร่งเดินหน้าเข้าเจรจากับสหรัฐในวันที่ 2-9 เม.ย. นี้ อย่างใกล้ชิด โดยอาจจะเป็นเพิ่มการนำเข้าสินค้าสหรัฐ ฯ หรือการเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เป็นต้น ?หากการเจรจาทางการค้าดำเนินไปอย่างรวดเร็วและทุกฝ่ายยอมลดภาษีลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ การบรรลุข้อตกลงใหม่จะช่วยบรรเทาความตึงเครียดทางการค้าได้ โดยเรายังเชื่อว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของประธานาธิบดีทรัมป์ คือการนำประโยชน์ให้กลับมาสู่สหรัฐฯ และพร้อมเปิดพื้นที่สำหรับการเจรจา
ในภาวะที่ตลาดเผชิญกับความไม่แน่นอนและความผันผวนสูง กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น อาจเน้นการ Wait and See เพื่อรอให้ตลาดประเมินและย่อยข่าวสารก่อนตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ยังคงยึดแนวทาง Balanced Portfolio โดยเน้นการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมทั้งในกองทุนที่ เน้นหุ้น Defensive อย่างกลุ่ม Consumer Staples ซึ่งมีรายได้ที่มั่นคงแม้ในภาวะตลาดที่ผันผวน และ หุ้นกลุ่ม Growth ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและศักยภาพในการเติบโตระยะยาว นอกจากนี้ ควรกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นโลก เพื่อกระจายความเสี่ยงจากสงครามการค้า และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต
นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมปรับพอร์ตการลงทุนอย่างยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
- LHGEQ: กองทุนหุ้นโลก เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง และมีประวัติการทำกำไรและมีงบดุลที่แข็งแกร่ง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
- LHGOLD: กองทุนทองคำ ลงทุนในทองคำ ลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เหมาะสำหรับกระจายความเสี่ยงในช่วงตลาดผันผวน
- LHGIGO: กองตราสารหนี้คุณภาพ ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก เหมาะสำหรับภาวะตลาดผันผวน
ทั้งนี้ นักลงทุนอาจพิจารณา LHGEQ เป็น Core Portfolio และควรจัดสรรน้ำหนักการลงทุนใน LHGIGO 10-20% และ LHGOLD ไม่เกิน 5% ของพอร์ต และรักษาวินัยในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้แนวทางล็อกกำไร (Profit Locking) และป้องกันความเสี่ยง (Stop Loss) อย่างเคร่งครัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน
หมายเหตุกอง LHGIGO เริ่ม IPO วันที่ 21 เม.ย. 2025
Source: Bloomberg, CNBC
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื่องจากกองทุน ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้