สรุปภาวะตลาด

สรุปภาพรวมการลงทุนในเดือนที่ผ่านมา
ตลอดเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะมาตรการภาษีล่าสุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้จุดชนวนความตึงเครียดทางการค้าอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี MSCI ACWI ปรับตัวลดลง 3.7% สะท้อนถึงภาวะตลาดที่ยังเปราะบางตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกกดดันหนักที่สุด โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงถึง -5.75% ขณะที่ Nasdaq ร่วงแรงกว่า -8.21% ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มกำไรของบริษัทเทคโนโลยีภายใต้บรรยากาศเชิงลบด้านการค้า ด้านตลาดยุโรปและเอเชียก็เช่นกัน โดย Stoxx Europe 600 ลดลง -4.18%, Nikkei 225 ของญี่ปุ่น -4.14%ะ CSI 300 ของจีน -0.07% และ SET ของไทย -3.79%ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นบางแห่งกลับสามารถปรับตัวขึ้นสวนกระแสโลก โดยเฉพาะดัชนี Hang Seng ที่ขยับขึ้น +0.78% และ Nifty 50 ของอินเดียที่โดดเด่นที่สุดด้วยการปรับตัวขึ้นกว่า +6.30% และ VN ของเวียดนาม +0.08%
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ตลอดเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะมาตรการภาษีล่าสุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้จุดชนวนความตึงเครียดทางการค้าอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี MSCI ACWI ปรับตัวลดลง 3.7% สะท้อนถึงภาวะตลาดที่ยังเปราะบาง
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกกดดันหนักที่สุด โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงถึง -5.75% ขณะที่ Nasdaq ร่วงแรงกว่า -8.21% ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มกำไรของบริษัทเทคโนโลยีภายใต้บรรยากาศเชิงลบด้านการค้า ด้านตลาดยุโรปและเอเชียก็เช่นกัน โดย Stoxx Europe 600 ลดลง -4.18%, Nikkei 225 ของญี่ปุ่น -4.14%ะ CSI 300 ของจีน -0.07% และ SET ของไทย -3.79%
ในทางกลับกัน ตลาดหุ้นบางแห่งกลับสามารถปรับตัวขึ้นสวนกระแสโลก โดยเฉพาะดัชนี Hang Seng ที่ขยับขึ้น +0.78% และ Nifty 50 ของอินเดียที่โดดเด่นที่สุดด้วยการปรับตัวขึ้นกว่า +6.30% และ VN ของเวียดนาม +0.08%
ตลาดหุ้นยุโรป
แม้ว่าตลาดหุ้นยุโรปจะเผชิญแรงกดดันในเดือนมี.ค. จากการประกาศมาตรการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนในอัตรา 25% โดยประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อหุ้นกลุ่มยานยนต์ อาทิ Volkswagen, BMW และ Stellantis ที่ปรับตัวลดลงแรง อย่างไรก็ตาม ตลาดยุโรปโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง และสามารถ Outperform ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดย
- กลุ่มที่ Outperform: Utilities, Insurance, Energy, Telecom (+3–5%)
- กลุ่มที่ Underperform: Travel & Leisure, Auto & Parts, Healthcare, Resources, Tech (-7–15%)
โดยดัชนี STOXX 600 ยังคงให้ผลตอบแทนในแดนบวกที่ +4.91% YTD โดยเฉพาะดัชนี DAX ของเยอรมนี ที่ได้รับแรงหนุนเชิงบวกจากการอนุมัติงบประมาณพิเศษด้านโครงสร้างพื้นฐานและการป้องกันประเทศ มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านยูโร ซึ่งจะทยอยดำเนินการภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า มาตรการดังกล่าวไม่เพียงช่วยเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่ยังมีศักยภาพในการหนุน GDP เยอรมนีให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 1% ต่อปี
ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้า ยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญต่อตลาดหุ้นยุโรปในภาพรวม
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงอย่างมีนัยในเดือนมี.ค. 2025 โดยดัชนี Nikkei 225 ร่วงลงกว่า 9.11% YTD สะท้อนแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกที่กดทับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภูมิภาค โดยความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีศุลกากรของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ กลายเป็นตัวเร่งให้ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญแรงเทขายอย่างหนักในเดือนนี้ โดยเฉพาะในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นจากการแคบลงของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยิ่งซ้ำเติมแรงกดดันต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากส่งผลลบต่อแนวโน้มกำไรของบริษัทส่งออก ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในดัชนี Nikkei
ตลาดหุ้นฮ่องกงและจีน
ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดย ดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกงพุ่งขึ้นถึง +18.25% YTD สะท้อนถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของตลาดปัจจัยหนุนสำคัญมาจากการเปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ใหม่ของจีนอย่าง DeepSeek ซึ่งโดดเด่นทั้งในด้านประสิทธิภาพและการใช้พลังงานที่น้อยกว่าคู่แข่งจากฝั่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณถึงความก้าวหน้าเชิงเทคโนโลยีของจีนที่เริ่มมีบทบาทชัดเจนในเวทีโลก ประกอบกับความคาดหวังว่าจีนจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในระยะถัดไป ซึ่งจะช่วยเสริมทิศทางการฟื้นตัวของตลาดทุนจีน
ตลาดหุ้นอินเดีย
ดัชนี Nifty 50 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง +6.30% ในเดือนมี.ค. หลังจากเผชิญแรงขายต่อเนื่องยาวนานกว่า 5 เดือน สะท้อนถึงการฟื้นตัวของตลาดหุ้นอินเดียที่ขับเคลื่อนโดยปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก การปรับฐานก่อนหน้าได้ทำให้ระดับมูลค่าหุ้นกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง ดึงดูดแรงซื้อจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ปัจจัยมหภาคยังคงแข็งแกร่ง โดย GDP ที่ขยายตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง และการฟื้นตัวของภาคการผลิต ล้วนเป็นสัญญาณบวกที่ตอกย้ำเสถียรภาพของเศรษฐกิจอินเดีย
นโยบายการคลังเชิงรุกควบคู่กับนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตในวงกว้าง ขณะที่แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่งเป็นอีกแรงผลักดันต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ที่สำคัญ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอลง ส่งผลให้ความผันผวนในตลาดลดลง และช่วยเสริมความมั่นคงของตลาดโดยรวม
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ดัชนี Nifty 50 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง +6.30% ในเดือนมี.ค. หลังจากเผชิญแรงขายต่อเนื่องยาวนานกว่า 5 เดือน สะท้อนถึงการฟื้นตัวของตลาดหุ้นอินเดียที่ขับเคลื่อนโดยปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก การปรับฐานก่อนหน้าได้ทำให้ระดับมูลค่าหุ้นกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง ดึงดูดแรงซื้อจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ปัจจัยมหภาคยังคงแข็งแกร่ง โดย GDP ที่ขยายตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง และการฟื้นตัวของภาคการผลิต ล้วนเป็นสัญญาณบวกที่ตอกย้ำเสถียรภาพของเศรษฐกิจอินเดีย
นโยบายการคลังเชิงรุกควบคู่กับนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตในวงกว้าง ขณะที่แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่งเป็นอีกแรงผลักดันต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ที่สำคัญ แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอลง ส่งผลให้ความผันผวนในตลาดลดลง และช่วยเสริมความมั่นคงของตลาดโดยรวม
ตลาดหุ้นไต้หวัน
ดัชนี TAIEX ของติดลบในเดือนมี.ค. ภายใต้แรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการกลับมาใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมุ่งเป้าไปยังประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไต้หวัน ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในระยะสั้น ตลาดหุ้นไต้หวันมีแนวโน้มเผชิญกับความผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายระหว่างประเทศและทิศทางเศรษฐกิจโลก นักลงทุนจึงเริ่มปรับกลยุทธ์โดยให้น้ำหนักไปที่หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง มีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลสูง เพื่อเน้นสร้างความมั่นคงของพอร์ตในภาวะที่ความเสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูง.
ตลาดหุ้นไทย
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ -3.79% นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากแรงกดดันด้านความเสี่ยงนโยบายภาษีของทรัมป์ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่นำการปรับตัวลง ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์, การเงิน, สุขภาพ, ขนส่ง, ค้าปลีก และ ท่องเที่ยว ซึ่งต่างได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ขณะที่กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดและช่วยพยุงดัชนีในบางช่วง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง, ผู้รับเหมาก่อสร้าง, ปิโตรเคมี, ธนาคาร และ พลังงาน
แม้ตลาดจะอยู่ในทิศทางอ่อนตัว แต่ก็มีปัจจัยบวกบางประการเข้ามาช่วยประคองบรรยากาศการลงทุน เช่น การเปิดตัว กองทุน ThaiESG-X ซึ่งส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน และแผนการซื้อหุ้นคืนของ PTT ที่ช่วยเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุนบางส่วน
อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายเดือนตลาดกลับมาเผชิญแรงกดดันอีกครั้งจากเหตุการณ์ แผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนในระยะสั้น
ทองคำ : ราคาทองคำปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงในเดือนที่ผ่านมา โดยทำสถิติสูงสุดใหม่ในประวัติการณ์หลายครั้ง สะท้อนแรงหนุนเชิงโครงสร้างที่แข็งแกร่งและการกลับมาเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับความนิยมในสภาวะตลาดปัจจุบัน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาทองคำคือ การสะสมทองคำอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งตอกย้ำบทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ขึ้นตรงต่อระบบการเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง และกลายเป็น ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่หนุนราคาทองคำในระยะยาว
นอกจากปัจจัยพื้นฐานดังกล่าว ในเชิงกลยุทธ์ทองคำยังมักทำผลงานได้ดีในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเชิงนโยบายและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
ข้อมูลทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์สำคัญในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
เศรษฐกิจสหรัฐฯ : ผลกระทบจากมาตรการทางภาษีเริ่มส่งสัญญาณชัดเจนมากขึ้น โดยไม่เพียงกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งจากดัชนี Conference Board และ Michigan Sentiment และภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าคาดอย่างต่อเนื่อง
โดยยอดขายปลีกในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นเพียง +0.2% MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาด ขณะที่ รายจ่ายส่วนบุคคลจริง (Real Personal Spending) ขยายตัวเพียง +0.1% MoM สะท้อนแรงซื้อที่ชะลอตัว ขณะเดียวกัน Core PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ +2.8% YoY สูงกว่าคาดการณ์ และตอกย้ำความกังวลต่อภาวะ Stagflation หรือเศรษฐกิจเติบโตช้าแต่เงินเฟ้อไม่ลดลง
ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น ความกังวลเรื่อง ภาวะถดถอย (Recession) จึงเริ่มปะทุอีกครั้ง โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 จาก 2.1% เหลือ 1.7% สะท้อนถึงแนวโน้มการชะลอตัว แม้จะยังคงยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งก็ตาม
เศรษฐกิจยูโรโซน : ผลกระทบจากมาตรการทางภาษีเริ่มส่งสัญญาณชัดเจนมากขึ้น โดยไม่เพียงกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งจากดัชนี Conference Board และ Michigan Sentiment และภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าคาดอย่างต่อเนื่อง
โดยยอดขายปลีกในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นเพียง +0.2% MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาด ขณะที่ รายจ่ายส่วนบุคคลจริง (Real Personal Spending) ขยายตัวเพียง +0.1% MoM สะท้อนแรงซื้อที่ชะลอตัว ขณะเดียวกัน Core PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ +2.8% YoY สูงกว่าคาดการณ์ และตอกย้ำความกังวลต่อภาวะ Stagflation หรือเศรษฐกิจเติบโตช้าแต่เงินเฟ้อไม่ลดลง
ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น ความกังวลเรื่อง ภาวะถดถอย (Recession) จึงเริ่มปะทุอีกครั้ง โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 จาก 2.1% เหลือ 1.7% สะท้อนถึงแนวโน้มการชะลอตัว แม้จะยังคงยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งก็ตาม
เศรษฐกิจญี่ปุ่น : เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4/2024 เติบโต 2.2% YoY ตามประมาณการขั้นสุดท้าย ปรับลดลงจากเดิมที่ 2.8% สะท้อนแรงส่งที่อ่อนแอกว่าคาด สาเหตุหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกจากที่ถูกปรับลด ขณะที่ การลงทุนภาคธุรกิจและและการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มปรับเพิ่มขึ้นช่วยพยุงภาพรวมบางส่วน อัตราเงินเฟ้อชะลอลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของกรุงโตเกียว (Tokyo CPI) ไม่รวมอาหารสด อยู่ที่ +2.2% YoY ในเดือนก.พ. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ สะท้อนแรงกดดันด้านราคาที่เริ่มผ่อนคลาย
ด้านค่าจ้าง ค่าจ้างเฉลี่ยเดือนมกราคมเพิ่มขึ้น +2.8% YoY ชะลอลงจาก +4.4% ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนเริ่มสูญเสียแรงส่ง ภาคธุรกิจยังเผชิญความเปราะบาง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 48.3 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ส่วนภาคบริการอ่อนแรงเช่นกัน โดย PMI ลดลงจาก 53.7 เหลือ 49.5 เข้าสู่ภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม 2024 ปัจจัยกดดันหลักได้แก่ ต้นทุนที่สูงขึ้น ความเชื่อมั่นที่ลดลง และปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจจีน : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอย่างเป็นทางการของจีนขยับขึ้นมาอยู่ที่ 50.5 ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 0.4 จุดจากเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่มี.ค. ปี 2024 สอดคล้องกับผลสำรวจของรอยเตอร์ โดยการขยายตัวของกิจกรรมการผลิตได้รับแรงหนุนจากทั้งอุปสงค์และอุปทานภายในประเทศ รวมถึงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นด้านภาคนอกการผลิตซึ่งรวมถึงบริการและก่อสร้าง ดัชนี PMI ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50.8 สูงสุดในรอบ 3 เดือน สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวในวงกว้างมากขึ้น แม้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอเพื่อรับมือกับแรงกดดันจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และรักษาเป้าหมายการเติบโตที่ “ราว 5%” รัฐบาลจีนได้ปรับเพิ่มกรอบงบประมาณขาดดุลขึ้นเป็น 4% ของ GDP ในปี 2025 จากเดิม 3% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก สะท้อนความมุ่งมั่นในการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงนโยบายอุตสาหกรรม จีนได้เร่งผลักดันภาคเทคโนโลยีเชิงรุก ผ่านมาตรการสำคัญ ได้แก่
- การส่งเสริมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ
- การดึงดูดการลงทุนจาก ASML
- การจัดตั้งกองทุนสนับสนุน Tech Startup มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านหยวน
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงนโยบาย “ความมั่งคั่งร่วม” (Common Prosperity) ซึ่งเคยสร้างความกังวลต่อตลาดในช่วงปี 2021–2023 บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนผ่านเชิงนโยบายไปสู่การสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักในระยะนี้
เศรษฐกิจไต้หวัน : เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวแข็งแกร่งที่ 4.3% ในปี 2024 สูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 3.5% และเป็นระดับการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2021 สะท้อนแรงส่งจากภาคการส่งออกเทคโนโลยีที่ฟื้นตัว และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
แนวโน้มในปี 2025 ยังคงเป็นบวก โดย Goldman Sachs คาดการณ์ว่า GDP ไต้หวันจะเติบโตที่ 2.6% แม้ชะลอลงจากปีก่อน แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) ซึ่งประเมินไว้อยู่ที่เพียง 1.6% ในช่วงเดียวกัน การเติบโตที่โดดเด่นของไต้หวันยังตอกย้ำบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีโลก และสะท้อนความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอนในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจอินเดีย : ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของอินเดียสะท้อนสัญญาณบวกชัดเจน บรรเทาความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดย GDP ไตรมาส 4/2024 ขยายตัว 6.2% YoY เร่งขึ้นจาก 5.6% ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กลับมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลาย โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนก.พ. ชะลอลงเหลือ 3.61% จาก 4.26% ในเดือนม.ค. ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) เดือนม.ค. ขยายตัว 5% จากระดับ 3.2% เดือนก่อนหน้า บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในภาคอุตสาหกรรม
ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งเหล่านี้ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาเป็นบวก โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่าตลาดเริ่มสะท้อนความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจอินเดีย ซึ่งยังคงโดดเด่นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) และเป็นเป้าหมายสำคัญของกระแสเงินทุนในระยะถัดไป
แนวโน้มปี 2025 ยังคงสดใส โดยคาดว่า GDP ทั้งปีจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 8% หนุนโดยการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน อีกหนึ่งแรงส่งสำคัญในเชิงกลยุทธ์ คือ ความคาดหวังว่าเวียดนามจะถูกยกระดับเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งจะช่วยดึงดูดกระแสเงินทุนจากต่างชาติในระยะยาว และยกระดับภาพลักษณ์ของตลาดทุนเวียดนามบนเวทีโลก
เศรษฐกิจไทย : เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงกดดันหลักจากภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หลังจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลง ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว โดยเฉพาะในกลุ่มเคมีภัณฑ์และปิโตรเลียม สะท้อนอุปสงค์โลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอลงหลังจากเร่งตัวขึ้นในช่วงก่อนหน้า บ่งชี้ถึงความระมัดระวังของภาคธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนเชิงนโยบายและเศรษฐกิจโลกอย่างไรก็ตาม สัญญาณบวกเริ่มชัดเจนในบางมิติ โดยการส่งออกสินค้าเริ่มกลับมาฟื้นตัวในหลายหมวด โดยเฉพาะยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโลหะมีค่า ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง หนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยภาครัฐยังคงมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ โดยการใช้จ่ายทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงอยู่ในทิศทางขยายตัว ช่วยประคองภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ภาคเอกชนบางส่วนเริ่มชะลอตัว
มุมมองและกลยุทธ์การลงทุน
แนวโน้มตลาด
ความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้ามีแนวโน้มจะยืดเยื้อ หลังจากการประกาศมาตรการภาษีโดยประธานาธิบดีทรัมป์ในวันที่ 2 เม.ย.ที่จะถึงนี้ สะท้อนถึงความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มชัดเจนขึ้น ทั้งจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นในเดือนมี.ค. และการชะลอของดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ
ในระยะข้างหน้า เราประเมินว่า ตลาดการเงินโลกจะยังเผชิญกับความผันผวนอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยผสมผสานทั้งด้านการเมือง การค้า และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของตลาดทุนในไตรมาส 2 และช่วงครึ่งหลังของปี 2025
แม้สภาพแวดล้อมการลงทุนจะมีความซับซ้อนและท้าทายมากขึ้น แต่ “ความไม่แน่นอน” กลับเป็นแรงหนุนให้การกระจายการลงทุนกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์และภูมิภาคต่าง ๆ ลดความเชื่อมโยงลง กลยุทธ์การกระจายพอร์ตโฟลิโอในหลากหลายภูมิภาคและสินทรัพย์จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในช่วงที่ความผันผวนยังอยู่ในระดับสูงเช่นนี้
กลยุทธ์ “Barbell Strategy” เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่เหมาะสมในภาวะตลาดที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเน้นการกระจายพอร์ตอย่างสมดุลระหว่างหุ้นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง (Growth) และหุ้นกลุ่มที่มีลักษณะป้องกันความเสี่ยง (Defensive) โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางการจัดสรรพอร์ตในสัดส่วนประมาณ 50% ไปยังหุ้นกลุ่ม Growth เช่น กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากเมกะเทรนด์อย่าง AI และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ขณะที่อีก 50% ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive อาทิ Utilities, Consumer Staples รวมถึงหุ้นกลุ่ม Value ซึ่งมีความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ และมีความผันผวนน้อยกว่าในภาวะตลาดผันผวน จะช่วยลดแรงกระแทกจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระยะสั้น การป้องกันพอร์ตด้วยการกระจายการลงทุนอย่างรอบด้าน ทั้งในเชิงสินทรัพย์และภูมิภาค ยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในภาวะที่ตลาดขับเคลื่อนด้วยปัจจัยภายนอกที่คาดการณ์ได้ยาก นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการติดตามข้อมูลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเตรียมความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตตามทิศทางของนโยบายการเงิน ภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
คำแนะนำการลงทุน
- เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive และ Growth: โดยแนะนำหุ้นในกลุ่ม, Consumer Staples และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งจะสามารถรักษามูลค่าและเติบโตได้ดีในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน
- กระจายการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก: เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนจากตลาดที่มีศักยภาพเติบโต เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่อาจได้รับผลบวกจากการลดดอกเบี้ย
- การกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูง และการซื้อหุ้นคืนในตลาดเพื่อช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว
- ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจและนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด: เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะสั้นและกลาง
LHGOLD: กองทุนทองคำ ลงทุนในทองคำ ลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เหมาะสำหรับกระจายความเสี่ยงในช่วงตลาดผันผวน
LHGIGO : กองตราสารหนี้คุณภาพ ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก เหมาะสำหรับภาวะตลาดผันผวน
ทั้งนี้ นักลงทุนอาจพิจารณา LHGEQ เป็น Core Portfolio และควรจัดสรรน้ำหนักการลงทุนใน LHGIGO 10-20% และ LHGOLD ไม่เกิน 5% ของพอร์ต และรักษาวินัยในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้แนวทางล็อกกำไร (Profit Locking) และป้องกันความเสี่ยง (Stop Loss) อย่างเคร่งครัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน
หมายเหตุกอง LHGIGO เริ่ม IPO วันที่ 21 เม.ย. 2025
Source: LHFUND, Bloomberg, Reuters, Trading Economy, investing.com, JPMorgan Asset Management
Data as of: 2 April 2025
เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือ
ได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือ ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน