สรุปภาวะตลาด
“ปรับพอร์ต ลดความเสี่ยง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเพิ่มโอกาสในเศรษฐกิจอวกาศ”
จีน
ภาพรวมเศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจจีนในปี 2024 อยู่ในภาวะชะลอตัวหลังจากการเติบโตเฉลี่ย 6% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัญหาหนี้อสังหาริมทรัพย์เรื้อรังที่บั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคส่งผลให้ GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวเพียง 4.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ Goldman Sachs ได้ปรับลดประมาณการ GDP ปี 2024 เหลือ 4.9% จาก 5.0% และ IMF คาดการณ์การเติบโตเพียง 4.6% และ 4.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ
เศรษฐกิจจีนเติบโตด้วยการลงทุน (Gross Capital Formation) มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ โดยการบริโภคมีสัดส่วนเพียง 37% ของ GDP ประชาชนให้ความสำคัญกับการออมมากกว่าการใช้จ่ายและสินทรัพย์ส่วนใหญ่ (60-70%) อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ปัญหาภาคนี้จึงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในการบริโภค ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต Deutsche Bank คาดว่า มาตรการกระตุ้นรอบนี้จะมีมูลค่ารวมประมาณ 7.5 ล้านล้านหยวน (1) หรือคิดเป็น 6% ของ GDP (2) โดยประกอบด้วยมาตรการทางการเงินจากธนาคารกลางจีน (PBOC) มูลค่า 4.5 ล้านล้านหยวน (3)
ตัวเลข (1-4) อ้างอิงจากตารางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในรอบนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผนออก นโยบายการคลังเพิ่มเติม ผ่านการออกพันธบัตรนอกงบประมาณ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาหนี้ รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคาดว่ามาตรการทางการคลังที่จะประกาศในเร็วๆ นี้ จะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านหยวน (4) อย่างไรก็ตาม มูลค่างบประมาณดังกว่าวยังคงไม่มีความชัดเจน โดยรัฐบาลอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการประชุม NPC และ โปลิตบูโร ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือน ต.ค. และ ธ.ค.
แม้มาตรการดังกล่าว อาจจะช่วยให้ GDP จีนในปี 2024 บรรลุเป้าหมายที่ 5% แต่การแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นเรื่องท้าทาย โดยธุรกรรมการซื้อขายบ้านอาจเพิ่มขึ้นระยะสั้นในเมือง Tier 1 และ Tier 2 แต่การฟื้นตัวอาจไม่ชัดเจนมากนัก โดยปัจจุบันจำนวนอสังหาริมทรัพย์คงค้างอยู่ที่ 750 ล้านตารางเมตร ใกล้เคียงระดับสูงสุดในปี 2015 อีกทั้ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังขึ้นอยู่กับ อัตราการจ้างงานซึ่งต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิขอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป
Valuation (การวิเคราะห์ทางด้านราคา)
โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมาหุ้นจีนดีดตัวขึ้นแรงรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นนโยบายที่มีนัยสำคัญมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ดัชนี MSCI China พุ่งขึ้น 40% จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากรายงานล่าสุดของ Goldman Sachs ได้ปรับประมาณการหุ้นจีนเป็น Overweight มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการทางนโยบาย และการคาดการณ์การเติบโตของกำไรที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน Valuation ของจีนอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จะส่งผลให้ Valuation เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย Bloomberg ระบุ FW P/E’s MSCI China ปัจจุบันอยู่ที่ 11.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีเล็กน้อย
โดยดัชนี MSCI China อยู่ที่ระดับ 6,834.02 จุด เรามองว่า Sentiment จากการที่รัฐบาลยังคงออกมาประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ตลาดเล่นไปได้ที่ Upside ราว 20% หรือคาดการณ์ระดับ Index ที่ 6,956-8,115 จุด หากดัชนีเข้าใกล้ระดับนี้ โดยไม่มีปัจจัยบวกที่ชัดเจนเพิ่มเติม เราประเมินว่านี่เป็นระดับราคาที่เหมาะสมสำหรับการ Switching โดยเมื่อ FW P/E อยู่ที่ระดับ 11.4 เท่า (หรือแถวๆ ค่าเฉลี่ย 10 ปี) ขึ้นไป ให้ทยอยปรับพอร์ตการลงทุนในจีน (ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน) ลงบางส่วนเป็น 50% ของส่วนที่มีอยู่
ในระยะข้างหน้า ตลาดจีนมีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามซึ่งอาจส่งผลให้ดัชนี MSCI China ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) และการประชุมโปลิตบูโร ในช่วงปลายเดือน ต.ค. ถึงต้นเดือน พ.ย. ซึ่งอาจจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงร่างและมูลค่าของนโยบายการคลังใหม่ที่ส่งผลบวกต่อตลาด ซึ่งถ้าประกอบกับความไม่แน่นอนจากนโยบายของประธานาธิบดีของสหรัฐที่ไม่ว่าจะมาจากพรรรคใด จึงยิ่งทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นโอกาสที่จะลด Position ในจีนลงอีกรอบ โดย Target Weighting ในจีนไม่ควรเกิน 5%-10% ของ Portfolio โดย ณ จุดนี้ อาจทำให้ตลาดวิ่งไปใกล้ที่ P/E 13.3 เท่า หรือ +1SD หรือที่ ระดับ Index 8,115 จุด บลจ. เราแนะนำ ว่าควรอย่างยิ่งที่จะต้อง Switching มากขึ้น
โดยนักลงทุนยังต้องติดตามผลกระทบจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งไม่ว่าผู้ชนะจะมาจากพรรคใดก็อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดจีน โดยเฉพาะหากโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือก อาจกระทบความเชื่อมั่นการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าการลดลงของการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะทำให้รายได้ของบริษัทจีนไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ตาม
อินเดีย
ภาพรวมเศรษฐกิจอินเดีย
เศรษฐกิจอินเดียเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีการขยายตัวของ GDP เฉลี่ย 7% ต่อปี จนปัจจุบันกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงในปี 2024 ที่ 6.8% และ 6.5% ในปี 2025 ตามการคาดการณ์ของ IMF แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียที่เติบโตเพียง 5.2% และ 4.9% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ S&P Global ยังคาดการณ์ว่า อินเดียจะก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกภายในปี 2030
อินเดียพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก โดยสัดส่วนการบริโภคต่อ GDP สูงถึง 60.4% และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.9% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การที่อินเดียมีประชากรมากกว่าจีนตั้งแต่ปี 2023 และมีอายุเฉลี่ยเพียง 29.5 ปี ซึ่งน้อยกว่าจีน (38.9 ปี) จะส่งเสริมศักยภาพการเติบโตของการบริโภคและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอนาคต รัฐบาลอินเดียยังสนับสนุนการเติบโตแบบ F-shaped โดยเน้นเพิ่มศักยภาพของประชากรอายุน้อยและมีรายได้ต่ำให้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว
ในด้านการลงทุน คนอินเดียส่วนใหญ่นิยมออมในอสังหาริมทรัพย์และทองคำ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 5.8% ของสินทรัพย์ครัวเรือน แต่ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา มีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดย การไหลเข้าของ Domestic Institutional Investors ขยายตัวเฉลี่ย 33% ต่อปี นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนการออมเพื่อเกษียณผ่านกองทุน SIPs (Systematic Investment Plans) พร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี ส่งผลให้ตลาดหุ้นอินเดียมีความเสถียรในระยะยาว นอกจากนี้ ตลาดหุ้นอินเดียมีการกระจายความเสี่ยงสูง ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น เทคโนโลยี การเกษตร ยา การเงิน และบริการ ซึ่งช่วยให้ตลาดมีความยืดหยุ่นต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การบริโภคที่แข็งแกร่งและการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้อินเดียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการลงทุนในอนาคต
Valuation (การวิเคราะห์ทางด้านราคา)
ที่ผ่านมาตลาดหุ้นอินเดียมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง การไหลเข้าของเงินลงทุนต่างชาติ และการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ (Domestic Fund Flow) อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การประเมินมูลค่าของตลาดอยู่ในระดับพรีเมียม ปัจจุบัน FW P/E ของ MSCI India อยู่ที่ 23.7 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ระดับเกือบ +2SD สะท้อนถึงความคาดหวังต่อผลประกอบการและการเติบโตในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นอินเดียถือว่าราคาแพง แต่ Goldman Sachs ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นอินเดีย โดยให้คำแนะนำ "Overweight" เนื่องจากคาดการณ์การเติบโตของกำไรในหลายภาคส่วนสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, ภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง, Telecom และประกันภัย สำหรับปี 2024 และ 2025 คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะอยู่ที่ 14% และ 15% ตามลำดับ
เรามองว่า แม้การประเมินมูลค่าจะอยู่ในระดับสูง แต่ศักยภาพในการเติบโตของกำไรและความแข็งแกร่งของตลาดในประเทศยังคงสร้างโอกาสในการลงทุน ขณะนี้ ดัชนี MSCI India อยู่ที่ระดับ 3,040.08 จุด โดยมีแนวโน้มการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ประมาณ -2.6% ในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายของ Fund Flow ไปยังจีน และการขายเพื่อทำกำไรจาก Premium ที่สูง จึงถือว่าโมเมนตัมดังกว่าอาจเปิดโอกาสในการเข้าซื้อในระยะข้างหน้า โดยจุดที่น่าสนใจอยู่ที่ระดับ Index 2,770 จุด หรือลดลงประมาณ 9% หรือคิดเป็นระดับ FW P/E ที่เหมาะสมในการทยอยสะสมเข้าพอร์ตอยู่ที่ 21.6 เท่าหรือที่ระดับ +1SD
สรุป
หุ้นจีน ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงจากข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และแม้จะย่อตัวลงไปบ้างจากความผิดหวังของการรอคอยตัวเลขนโยบายที่ชัดเจน แต่เราเชื่อว่ายังคงมี Upside เหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจจีนยังเผชิญความท้าทายจากหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายและการจ้างงาน อีกทั้ง ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงกดดันการส่งออก ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ
แม้ว่านโยบายการคลังที่กำลังจะประกาศจะช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ แต่คาดว่าจะส่งผลเพียงระยะสั้น ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น ที่ขับเคลื่อนด้วยการฟื้นตัวของมูลค่าหุ้น (Valuation) และความเชื่อมั่นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่รัฐบาลประกาศนโยบาย เพื่อหาจังหวะทยอยลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นจีน ทั้งนี้ ล่าสุด ตัวเลข GDP Q3/2024 ที่ประกาศเมื่อ 18 ต.ค. เติบโตลดลงจาไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.6% YoY ส่งผลการเติบโตของ GDP ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.8% YoY ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมายปี 2024 ที่ 5.0% ซึ่งอาจจะสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลในการประกาศมาตรการที่ชัดเจนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีได้
สำหรับ หุ้นอินเดีย การเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากปัจจัยพื้นฐาน และการที่บริษัทส่วนใหญ่เป็นธุรกิจภาคบริการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนสูง ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนบ่อยครั้งทำให้กำไรส่งตรงถึงนักลงทุนและหนุนให้ ROE ปัจจุบันอยู่ที่ 16 เท่า ซึ่งสูงกว่าตลาดเอเชียอื่น ทั้งนี้ พิจารณาจาก Fund Flow อินเดียพบว่า มีเม็ดเงินไหลออกจากการ Take profit จาก valuation ที่เริ่มตึงตัว และจากการที่จีนมีมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของอินเดียที่ทยอยลดความร้อนแรงลง อย่างตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ ส่งผลให้เราเห็นภาพการ Switch เงินจากอินเดียไปจีน สอดคล้องกับรายงานล่าสุดของ Citi Bank พบว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้า China ETF สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 38.7 billion USD ในทางตรงกันข้ามได้เห็นการไหลออกของ FII จากอินเดียในช่วงเวลาเดียวกันที่ 5 billion USD
ในเดือน ต.ค. นี้ เราเห็นแนวโน้ม Reallocate ของ Fund Flow ระหว่าง Emerging ขนาดใหญ่สองตลาด โดยมองว่านักลงทุนที่ยังไม่มี Position ในตลาดอินเดียให้รอย่อแล้วเข้าลงทุน ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินเดียยังคงขยายตัวอยู่ โดยแม้ดัชนี PMI Composite ล่าสุดในเดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เราเชื่อว่าระยะยาวหุ้นอินเดียยังมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อได้ จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่าน Earnings ที่ยังคงมีแนวโน้มดี
ข้อเสนอแนะการปรับพอร์ต
ลดสัดส่วนการลงทุนใน LHCHINA เพื่อปรับลดความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยทยอยขายมื่อ FW P/E แตะระดับ 11.4 เท่า-13.3 เท่า (แถวๆ ค่าเฉลี่ย 10 ปี ถึง +1SD) หรือที่ระดับ Index MSCI China ที่ 6,956-8,115 จุด โดยปรับพอร์ตการลงทุนในจีนให้ไม่มากไปกว่า 10% ของ Portfolio และควรเฝ้าติดตามการประกาศนโยบายของ NPC และโปลิตปูโรช่วงปลายเดือน ต.ค. และต้นเดือน พ.ย.
และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน LHSPACE เพื่อแสวงหาโอกาสในเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) หรือ กิจการอวกาศในอนาคต (Next Generation Space Economy) โดยแนะนำไม่เกิน 20% ของ Portfolio
และทยอยเพิ่มการลงทุนใน LHINDIAE เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาวมีการเติบโตที่ยังคงแข็งแกร่ง แต่เนื่องจากปัจจุบัน F/W P/E อยู่ที่ 23.7 เท่า จึงแนะนำให้นักลงทุนรออย่างอดทนเพื่อรอจังหวะย่อตัว โดยพิจารณาจุดเข้าซื้อที่ FW P/E ที่ 21.6 เท่า (+1SD) คิดเป็นระดับ Index MSCI India ที่ 2,770 จุด และแนะนำให้เพิ่มการลงทุนในอินเดียเป็น 5-10% ของ Portfolio
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
As of 22 Oct 2024
Source: Goldman Sachs, Deutsche Bank, Bloomberg, IMF, S&P Global
Disclaimer
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (“บริษัทจัดการ”) จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป็น การทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอหรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ และ/หรือ ขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้แต่อย่างใดแม้บริษัทจัดการจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้ข้อมูล ดังกล่าวมีความถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้ บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการไม่มีความรับผิดและจะไม่รับผิดสำหรับความผิดพลาด ของข้อมูลใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม รวมทั้งจะไม่รับผิดสำหรับการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นหรือข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้ บริษัทจัดการไม่ได้ให้คำรับรองหรือรับประกัน ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย เกี่ยวกับความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทันต่อเหตุการณ์ หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น บริษัทจัดการขอปฏิเสธความรับผิดทั้งปวงที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นในทุกกรณี ทั้งนี้ ความเห็น บทวิเคราะห์หรือการคาดคะเนต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผลการดำเนินงานในอนาคตที่ปรากฏในเอกสารนี้ ไม่ถือเป็นเครื่องยืนยันและอาจแตกต่างจากเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่เกิดขึ้นจริงได้สำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อบริษัทจัดการหรือผู้ดำเนินการขายที่ท่านใช้บริการบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารนี้โดยห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ ทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ อ้างอิง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือใช้วิธีการใดก็ตาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากบริษัทจัดการเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน นอกจากนั้น บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ที่จะทำการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อความใด ๆ ในเอกสารนี้ได้ตามที่บริษัทจัดการจะเห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทจัดการอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ทั้งนี้ บริษัท/ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนในแต่ละช่วงเวลาของการลงทุน เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลเท่านั้น ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นข้อมูลทั่วไปไม่ใช่คำแนะนำหรือความเห็นในการแทนคำแนะนำในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลในเอกสารนี้ไม่ใช่สำหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ใด ๆ บริษัทได้จัดทำและรวบรวมขึ้นด้วยความสุจริตและอยู่บนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โดยบริษัทและผู้บริหารรวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทมิอาจรับประกันความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ให้ไว้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผนออก นโยบายการคลังเพิ่มเติม ผ่านการออกพันธบัตรนอกงบประมาณ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาหนี้ รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคาดว่ามาตรการทางการคลังที่จะประกาศในเร็วๆ นี้ จะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านหยวน (4) อย่างไรก็ตาม มูลค่างบประมาณดังกว่าวยังคงไม่มีความชัดเจน โดยรัฐบาลอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการประชุม NPC และ โปลิตบูโร ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือน ต.ค. และ ธ.ค.
แม้มาตรการดังกล่าว อาจจะช่วยให้ GDP จีนในปี 2024 บรรลุเป้าหมายที่ 5% แต่การแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นเรื่องท้าทาย โดยธุรกรรมการซื้อขายบ้านอาจเพิ่มขึ้นระยะสั้นในเมือง Tier 1 และ Tier 2 แต่การฟื้นตัวอาจไม่ชัดเจนมากนัก โดยปัจจุบันจำนวนอสังหาริมทรัพย์คงค้างอยู่ที่ 750 ล้านตารางเมตร ใกล้เคียงระดับสูงสุดในปี 2015 อีกทั้ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังขึ้นอยู่กับ อัตราการจ้างงานซึ่งต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิขอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป
Valuation (การวิเคราะห์ทางด้านราคา)
โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมาหุ้นจีนดีดตัวขึ้นแรงรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นนโยบายที่มีนัยสำคัญมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ดัชนี MSCI China พุ่งขึ้น 40% จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากรายงานล่าสุดของ Goldman Sachs ได้ปรับประมาณการหุ้นจีนเป็น Overweight มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการทางนโยบาย และการคาดการณ์การเติบโตของกำไรที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน Valuation ของจีนอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จะส่งผลให้ Valuation เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย Bloomberg ระบุ FW P/E’s MSCI China ปัจจุบันอยู่ที่ 11.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีเล็กน้อย
โดยดัชนี MSCI China อยู่ที่ระดับ 6,834.02 จุด เรามองว่า Sentiment จากการที่รัฐบาลยังคงออกมาประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ตลาดเล่นไปได้ที่ Upside ราว 20% หรือคาดการณ์ระดับ Index ที่ 6,956-8,115 จุด หากดัชนีเข้าใกล้ระดับนี้ โดยไม่มีปัจจัยบวกที่ชัดเจนเพิ่มเติม เราประเมินว่านี่เป็นระดับราคาที่เหมาะสมสำหรับการ Switching โดยเมื่อ FW P/E อยู่ที่ระดับ 11.4 เท่า (หรือแถวๆ ค่าเฉลี่ย 10 ปี) ขึ้นไป ให้ทยอยปรับพอร์ตการลงทุนในจีน (ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน) ลงบางส่วนเป็น 50% ของส่วนที่มีอยู่
ในระยะข้างหน้า ตลาดจีนมีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามซึ่งอาจส่งผลให้ดัชนี MSCI China ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) และการประชุมโปลิตบูโร ในช่วงปลายเดือน ต.ค. ถึงต้นเดือน พ.ย. ซึ่งอาจจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงร่างและมูลค่าของนโยบายการคลังใหม่ที่ส่งผลบวกต่อตลาด ซึ่งถ้าประกอบกับความไม่แน่นอนจากนโยบายของประธานาธิบดีของสหรัฐที่ไม่ว่าจะมาจากพรรรคใด จึงยิ่งทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นโอกาสที่จะลด Position ในจีนลงอีกรอบ โดย Target Weighting ในจีนไม่ควรเกิน 5%-10% ของ Portfolio โดย ณ จุดนี้ อาจทำให้ตลาดวิ่งไปใกล้ที่ P/E 13.3 เท่า หรือ +1SD หรือที่ ระดับ Index 8,115 จุด บลจ. เราแนะนำ ว่าควรอย่างยิ่งที่จะต้อง Switching มากขึ้น
โดยนักลงทุนยังต้องติดตามผลกระทบจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งไม่ว่าผู้ชนะจะมาจากพรรคใดก็อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดจีน โดยเฉพาะหากโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือก อาจกระทบความเชื่อมั่นการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าการลดลงของการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะทำให้รายได้ของบริษัทจีนไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ตาม
อินเดีย
ภาพรวมเศรษฐกิจอินเดีย
เศรษฐกิจอินเดียเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีการขยายตัวของ GDP เฉลี่ย 7% ต่อปี จนปัจจุบันกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงในปี 2024 ที่ 6.8% และ 6.5% ในปี 2025 ตามการคาดการณ์ของ IMF แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียที่เติบโตเพียง 5.2% และ 4.9% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ S&P Global ยังคาดการณ์ว่า อินเดียจะก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกภายในปี 2030
อินเดียพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก โดยสัดส่วนการบริโภคต่อ GDP สูงถึง 60.4% และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.9% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การที่อินเดียมีประชากรมากกว่าจีนตั้งแต่ปี 2023 และมีอายุเฉลี่ยเพียง 29.5 ปี ซึ่งน้อยกว่าจีน (38.9 ปี) จะส่งเสริมศักยภาพการเติบโตของการบริโภคและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอนาคต รัฐบาลอินเดียยังสนับสนุนการเติบโตแบบ F-shaped โดยเน้นเพิ่มศักยภาพของประชากรอายุน้อยและมีรายได้ต่ำให้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว
ในด้านการลงทุน คนอินเดียส่วนใหญ่นิยมออมในอสังหาริมทรัพย์และทองคำ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 5.8% ของสินทรัพย์ครัวเรือน แต่ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา มีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดย การไหลเข้าของ Domestic Institutional Investors ขยายตัวเฉลี่ย 33% ต่อปี นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนการออมเพื่อเกษียณผ่านกองทุน SIPs (Systematic Investment Plans) พร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี ส่งผลให้ตลาดหุ้นอินเดียมีความเสถียรในระยะยาว นอกจากนี้ ตลาดหุ้นอินเดียมีการกระจายความเสี่ยงสูง ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น เทคโนโลยี การเกษตร ยา การเงิน และบริการ ซึ่งช่วยให้ตลาดมีความยืดหยุ่นต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การบริโภคที่แข็งแกร่งและการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้อินเดียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการลงทุนในอนาคต
Valuation (การวิเคราะห์ทางด้านราคา)
ที่ผ่านมาตลาดหุ้นอินเดียมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง การไหลเข้าของเงินลงทุนต่างชาติ และการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ (Domestic Fund Flow) อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การประเมินมูลค่าของตลาดอยู่ในระดับพรีเมียม ปัจจุบัน FW P/E ของ MSCI India อยู่ที่ 23.7 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ระดับเกือบ +2SD สะท้อนถึงความคาดหวังต่อผลประกอบการและการเติบโตในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นอินเดียถือว่าราคาแพง แต่ Goldman Sachs ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นอินเดีย โดยให้คำแนะนำ "Overweight" เนื่องจากคาดการณ์การเติบโตของกำไรในหลายภาคส่วนสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, ภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง, Telecom และประกันภัย สำหรับปี 2024 และ 2025 คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะอยู่ที่ 14% และ 15% ตามลำดับ
เรามองว่า แม้การประเมินมูลค่าจะอยู่ในระดับสูง แต่ศักยภาพในการเติบโตของกำไรและความแข็งแกร่งของตลาดในประเทศยังคงสร้างโอกาสในการลงทุน ขณะนี้ ดัชนี MSCI India อยู่ที่ระดับ 3,040.08 จุด โดยมีแนวโน้มการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ประมาณ -2.6% ในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายของ Fund Flow ไปยังจีน และการขายเพื่อทำกำไรจาก Premium ที่สูง จึงถือว่าโมเมนตัมดังกว่าอาจเปิดโอกาสในการเข้าซื้อในระยะข้างหน้า โดยจุดที่น่าสนใจอยู่ที่ระดับ Index 2,770 จุด หรือลดลงประมาณ 9% หรือคิดเป็นระดับ FW P/E ที่เหมาะสมในการทยอยสะสมเข้าพอร์ตอยู่ที่ 21.6 เท่าหรือที่ระดับ +1SD
สรุป
หุ้นจีน ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงจากข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และแม้จะย่อตัวลงไปบ้างจากความผิดหวังของการรอคอยตัวเลขนโยบายที่ชัดเจน แต่เราเชื่อว่ายังคงมี Upside เหลืออยู่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจจีนยังเผชิญความท้าทายจากหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายและการจ้างงาน อีกทั้ง ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงกดดันการส่งออก ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ
แม้ว่านโยบายการคลังที่กำลังจะประกาศจะช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ แต่คาดว่าจะส่งผลเพียงระยะสั้น ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น ที่ขับเคลื่อนด้วยการฟื้นตัวของมูลค่าหุ้น (Valuation) และความเชื่อมั่นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่รัฐบาลประกาศนโยบาย เพื่อหาจังหวะทยอยลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นจีน ทั้งนี้ ล่าสุด ตัวเลข GDP Q3/2024 ที่ประกาศเมื่อ 18 ต.ค. เติบโตลดลงจาไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.6% YoY ส่งผลการเติบโตของ GDP ตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.8% YoY ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมายปี 2024 ที่ 5.0% ซึ่งอาจจะสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลในการประกาศมาตรการที่ชัดเจนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีได้
สำหรับ หุ้นอินเดีย การเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากปัจจัยพื้นฐาน และการที่บริษัทส่วนใหญ่เป็นธุรกิจภาคบริการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนสูง ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนบ่อยครั้งทำให้กำไรส่งตรงถึงนักลงทุนและหนุนให้ ROE ปัจจุบันอยู่ที่ 16 เท่า ซึ่งสูงกว่าตลาดเอเชียอื่น ทั้งนี้ พิจารณาจาก Fund Flow อินเดียพบว่า มีเม็ดเงินไหลออกจากการ Take profit จาก valuation ที่เริ่มตึงตัว และจากการที่จีนมีมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของอินเดียที่ทยอยลดความร้อนแรงลง อย่างตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ ส่งผลให้เราเห็นภาพการ Switch เงินจากอินเดียไปจีน สอดคล้องกับรายงานล่าสุดของ Citi Bank พบว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้า China ETF สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 38.7 billion USD ในทางตรงกันข้ามได้เห็นการไหลออกของ FII จากอินเดียในช่วงเวลาเดียวกันที่ 5 billion USD
ในเดือน ต.ค. นี้ เราเห็นแนวโน้ม Reallocate ของ Fund Flow ระหว่าง Emerging ขนาดใหญ่สองตลาด โดยมองว่านักลงทุนที่ยังไม่มี Position ในตลาดอินเดียให้รอย่อแล้วเข้าลงทุน ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินเดียยังคงขยายตัวอยู่ โดยแม้ดัชนี PMI Composite ล่าสุดในเดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูง เราเชื่อว่าระยะยาวหุ้นอินเดียยังมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อได้ จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่าน Earnings ที่ยังคงมีแนวโน้มดี
ข้อเสนอแนะการปรับพอร์ต
ลดสัดส่วนการลงทุนใน LHCHINA เพื่อปรับลดความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยทยอยขายมื่อ FW P/E แตะระดับ 11.4 เท่า-13.3 เท่า (แถวๆ ค่าเฉลี่ย 10 ปี ถึง +1SD) หรือที่ระดับ Index MSCI China ที่ 6,956-8,115 จุด โดยปรับพอร์ตการลงทุนในจีนให้ไม่มากไปกว่า 10% ของ Portfolio และควรเฝ้าติดตามการประกาศนโยบายของ NPC และโปลิตปูโรช่วงปลายเดือน ต.ค. และต้นเดือน พ.ย.
และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน LHSPACE เพื่อแสวงหาโอกาสในเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) หรือ กิจการอวกาศในอนาคต (Next Generation Space Economy) โดยแนะนำไม่เกิน 20% ของ Portfolio
และทยอยเพิ่มการลงทุนใน LHINDIAE เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาวมีการเติบโตที่ยังคงแข็งแกร่ง แต่เนื่องจากปัจจุบัน F/W P/E อยู่ที่ 23.7 เท่า จึงแนะนำให้นักลงทุนรออย่างอดทนเพื่อรอจังหวะย่อตัว โดยพิจารณาจุดเข้าซื้อที่ FW P/E ที่ 21.6 เท่า (+1SD) คิดเป็นระดับ Index MSCI India ที่ 2,770 จุด และแนะนำให้เพิ่มการลงทุนในอินเดียเป็น 5-10% ของ Portfolio
ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
As of 22 Oct 2024
Source: Goldman Sachs, Deutsche Bank, Bloomberg, IMF, S&P Global
Disclaimer
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (“บริษัทจัดการ”) จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป็น การทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอหรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ และ/หรือ ขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้แต่อย่างใดแม้บริษัทจัดการจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้ข้อมูล ดังกล่าวมีความถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้ บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการไม่มีความรับผิดและจะไม่รับผิดสำหรับความผิดพลาด ของข้อมูลใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม รวมทั้งจะไม่รับผิดสำหรับการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นหรือข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้ บริษัทจัดการไม่ได้ให้คำรับรองหรือรับประกัน ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย เกี่ยวกับความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทันต่อเหตุการณ์ หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น บริษัทจัดการขอปฏิเสธความรับผิดทั้งปวงที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นในทุกกรณี ทั้งนี้ ความเห็น บทวิเคราะห์หรือการคาดคะเนต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผลการดำเนินงานในอนาคตที่ปรากฏในเอกสารนี้ ไม่ถือเป็นเครื่องยืนยันและอาจแตกต่างจากเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่เกิดขึ้นจริงได้สำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อบริษัทจัดการหรือผู้ดำเนินการขายที่ท่านใช้บริการบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารนี้โดยห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ ทำซ้ำ ดัดแปลง ลอกเลียนแบบ อ้างอิง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือใช้วิธีการใดก็ตาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากบริษัทจัดการเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน นอกจากนั้น บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ที่จะทำการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อความใด ๆ ในเอกสารนี้ได้ตามที่บริษัทจัดการจะเห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทจัดการอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ทั้งนี้ บริษัท/ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนในแต่ละช่วงเวลาของการลงทุน เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลเท่านั้น ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นข้อมูลทั่วไปไม่ใช่คำแนะนำหรือความเห็นในการแทนคำแนะนำในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลในเอกสารนี้ไม่ใช่สำหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ใด ๆ บริษัทได้จัดทำและรวบรวมขึ้นด้วยความสุจริตและอยู่บนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โดยบริษัทและผู้บริหารรวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทมิอาจรับประกันความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ให้ไว้อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้