สรุปภาวะตลาด
Fed “พร้อมแล้ว” ที่จะลดดอกเบี้ย พร้อมโฟกัสไปที่ตลาดแรงงานควบคู่ไปกับเงินเฟ้อ
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ดัชนี Dow +1.3% S&P 500 +1.5% Nasdaq +1.4% จากความเห็นของ Fed หลายท่านที่มีท่าทีผ่อนคลาย รายงานการประชุม Fed ที่มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยใน กันยายน และ speech ของ Powell ที่ Jackson Hole ที่สะท้อนว่าดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะลดลงได้ข้างหน้า และตัวเลขการจ้างงานประจำปีที่มีการปรับตัวเลขลดลง ตัวเลข PMI สหรัฐที่ภาคบริการยังปรับตัวขึ้นและดีกว่าคาด แต่ภาคการผลิตปรับตัวลง และแย่กว่าคาด
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทั่วโลก มีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ตลาดได้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ Black Monday ในวันที่ 5 ส.ค. , ในงานประชุม Jackson Hole นาย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัมภาษณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับทิศทางของเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน โดยเขาย้ำถึงความมั่นใจว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังกลับสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนที่ 2% และระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังคงมีพื้นที่เพียงพอในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การชะลอตัวในตลาดแรงงาน แม้ Powell จะไม่ยินดีต่อการชะลอตัวของตลาดแรงงาน แต่เขาก็ยอมรับว่าการชะลอตัวนั้นเริ่มปรากฏชัดเจนแล้ว เขายังเน้นว่าทิศทางการลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เข้ามา แนวโน้มในอนาคต และการประเมินความเสี่ยงอย่างสมดุลโดยนักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ได้ปรับลดความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ลงจาก 25% เป็น 20% หลังจากที่ตัวเลขการค้าปลีก และการจ้างงานออกมาดีกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนนั้นยังคงจับตามองการประชุมของธ.กลางทั่วโลกที่ Jackson Holes ในวันที่ 23 ส.ค. อย่างใกล้ชิด โดยนาย Jerome Powell ประธานธ.กลางสหรัฐฯ นั้นจะมีการให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของเศรษฐกิจ และนโยบายทางการเงินที่สำคัญ นอกจากนี้ ตลาดจะจับตามองผลประกอบการของบริษัท Nvidia ในวันที่ 28 ส.ค. อย่างใกล้ชิด ถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรม AI ที่ตลาดมีความคาดหวังในระดับที่สูงมาก
- ตลาดหุ้นยุโรป ได้มีการฟื้นตัวมากกว่าสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ โดยตัวเลข Eurozone Composite PMI ล่วงหน้าเดือนส.ค. ออกมาที่ 51.2 จุด ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 50.1 จุด นำโดยภาคบริการที่แข็งแกร่งที่ 53.3 จุด (สูงกว่าตลาดคาดที่ 51.7 จุด) แต่ภาคอุตสาหกรรมนั้น มีการหดตัวที่ 45.6 จุด (ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 45.8 จุด)
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ยังคงมีการฟื้นตัวต่อเนื่องกว่า 22% หลังจากเหตุการณ์ Black Monday ในวันที่ 5 ส.ค. จากความกังวลที่ลดลงต่อภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัว (Recession) และทางประธานธ.กลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ได้มีการแถลงว่าจะไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก ในช่วงเวลาที่ตลาดการเงินนั้นมีความผันผวนสูง ซึ่งเป็นการกลับคำพูดจากวันที่ 31 ก.ค. ที่ BOJ พึ่งทำการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.10% เป็น 0.25%
- ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่แล้ว SET +51.87 จุด (+4.0%) สู่ระดับ 1354.87 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จากการจัดตั้ง ครม. ได้เร็ว การแจกเงินสดผ่านโครงการดิจิตอลวอลเล็ต ให้กลุ่มเปราะบางก่อนภายมในเดือนกันยายน และความหวังการลดดอกเบี้ยตามผลการประชุม Fed
26 สิงหาคม: ไทย ตัวเลขส่งออก (กรกฎาคม) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 8.0% โดยไตรมาสก่อนอยู่ที่ -0.3%
29 สิงหาคม: สหรัฐ GDP (2Q) (QoQ) คาดว่าอยู่ที่ 2.8% โดยไตรมาสก่อนอยู่ที่ 1.4%
30 สิงหาคม: ยุโรป CPI (สิงหาคม) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 2.3% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.6%
30 สิงหาคม: สหรัฐ PCE Price Index (กรกฎาคม) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 2.6% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.5%
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยหุ้นมีลักษณะผสมผสานทั้ง Growth , Quality และ Value ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดในระยะยาว
- LHHEALTH ในช่วงที่ตลาดเผชิญความผันผวนจาก Valuation ของหุ้นที่ตึงตัว และความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย , ซึ่งกลุ่ม Healthcare มีค่าเบต้าที่ระดับ 0.6-0.7 ทำให้มีลักษณะความเป็น Defensive สามารถเผชิญกับความผันผวนของตลาดได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
- LHDIVB ความผันผวนของตลาดจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้ง DIVB ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น และการซื้อหุ้นคืนในตลาด และ หุ้นใน Theme value, cyclical, defensive ที่เริ่มเห็น การกลับเข้ามาซื้อตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน