สรุปภาวะตลาด
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้ตลาดกังวลการเข้าสู่ภาวะถดถอย
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี DJI -2.1% S&P 500 -2.1% Nasdaq -3.4% ตัวเลขเศรษฐกิจสะท้อนว่ากำลังจะยังคงเข้าสู่ภาวะถดถอย ISM ภาคการผลิตสหรัฐ ในกรกฎาคม ลดลง 1.7 จุด เป็น 46.8 จุด การจ้างงานนอกภาคเกษตรในกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 114k น้อยกว่าคาดที่ 175k และเดือนก่อนที่ 179k Fedคงดอกเบี้ยในกรกฎาคม แต่สะท้อนว่ามีโอกาสจะลดในกันยายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี ปรับลดลงต่ำสุดตั้งแต่ธันวาคม ปีก่อน ที่ 3.79% BoJ ขึ้นดอกเบี้ย 0.15% เป็น 0.25% เหนือคาดหมาย
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทั่วโลก ยังคงเผชิญกับความผันผวนในระดับที่สูง โดยเฉพาะดัชนีความผันผวนอย่าง VIX Index ที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยมีหลายเหตุการณ์ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 1) ธ.กลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาด แต่อย่างไรก็ตาม นาย Jerome Powell นั้นได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่าทางคณะกรรมการ Fed นั้นมีความพร้อมที่จะลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย.นี้ โดยทาง Fed นั้นได้เริ่มเฝ้าระวังสัญญาณในตลาดแรงงาน และเริ่มให้น้ำหนักมากกว่าตัวเลขเงินเฟ้อ 2) นักลงทุนได้เริ่มมีความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก หลังจากที่ตัวเลข ISM Manufacturing และ JPM Global Manufacturing PMI เดือนก.ค. ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน โดยเฉพาะ New orders และ Employment ที่ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข Initial Jobless Claims ที่ชาวสหรัฐฯมีการขอรับสวัสดิการคนว่างงานที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 1 ปี สะท้อนผ่านการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงชัดเจนในเดือนกรกฎาคม และคนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ซึ่งสูงที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นแค่ 114,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้ว ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดไว้
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้มีการปรับตัวลดลงแรงในสัปดาห์นี้ โดยหุ้นในกลุ่มภาคอุตสาหกรรม และส่งออกนั้น ยังคงได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนที่ JPY/USD นั้นแข็งค่ากว่า 6.8% ในเดือนก.ค. จากการที่ธ.กลางญี่ปุ่น (BOJ) นั้นได้ทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.10% และ เป็น 0.25% และได้ทำการลดขนาดของมาตรการ Quantitative Easing ลง , ทาง BOJ ยังได้ส่งสัญญาณว่าทางธ.กลางนั้น จะทำการ Tightening มาตรการทางการเงินขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงลบที่มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์
- ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกง ยังคงปรับตัวลดลงในสัปดาห์นี้ โดยผลของการประชุมใหญ่ของรัฐบาลจีน Third Plenum นั้น ยังคงบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนนั้น ยังคงนโยบายเศรษฐกิจแบบเดิม โดยเน้นไปที่การสนับสนุน และพัฒนาความมั่นคงทางภาคอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในระยะยาว โดยยังคงไม่มีนโยบายในการเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศที่ชัดเจน จึงทำให้นักลงทุน และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากนั้น เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนนั้น มีโอกาสที่จะชะลอตัวลง และเติบโดต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดในช่วงครึ่งปีหลัง
- ตลาดหุ้นไทย แล้ว แล้ว SET +5.87 จุด (+0.5%) สู่ระดับ 1313.08 จุด จากผลประกอบการ DELTA และ PTTEP ที่ดีกว่าคาด ครม. อนุมัติ TESG และความหวัง Fed ลดดอกเบี้ยในกันยายน
5 สิงหาคม: ไทย CPI (มิถุนายน) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 0.7% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 0.6%
5 สิงหาคม: จีน Caixin Services PMI (กรกฎาคม) คาดว่าอยู่ที่ 51.5 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 51.2
5 สิงหาคม: ยุโรป Composite PMI (กรกฎาคม) คาดว่าอยู่ที่ 50.1 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 50.9
5 สิงหาคม: สหรัฐ ISM ภาคบริการ (กรกฎาคม) คาดว่าอยู่ที่ 51.3 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 48.8
9 สิงหาคม: จีน CPI (มิถุนายน) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 0.3% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 0.2%
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยหุ้นมีลักษณะผสมผสานทั้ง Growth , Quality และ Value ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดในระยะยาว
- LHHEALTH ในช่วงที่ตลาดเผชิญความผันผวนจาก Valuation ของหุ้นที่ตึงตัว และความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย , ซึ่งกลุ่ม Healthcare มีค่าเบต้าที่ระดับ 0.6-0.7 ทำให้มีลักษณะความเป็น Defensive สามารถเผชิญกับความผันผวนของตลาดได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
- LHDIVB ความผันผวนของตลาดจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้ง DIVB ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้น และการซื้อหุ้นคืนในตลาด และ หุ้นใน Theme value, cyclical, defensive ที่เริ่มเห็น การกลับเข้ามาซื้อตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน