สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเห็นการหมุนออกจากหุ้นกลุ่ม Tech ไปยังหุ้นขนาดกลาง-เล็ก
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี +0.8% S&P 500 -0.8% Nasdaq -2.1% ยังคงมีการหมุนออกจากหุ้นกลุ่ม tech ไปยังหุ้นขนาดกลาง-เล็ก และ หุ้น cyclical Biden ประกาศถอนตัวจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ PBOC ประกาศลดดอดเบี้ยนโยบายเหนือความคาดหมาย ยุโรปประกาศ PMI ภาคการผลิตและบริการต่ำกว่าคาดหมาย GDP สหรัฐในไตรมาส 2 ออกมาที่ 2.8% ดีกว่าคาดที่ 2% PCE สหรัฐในมิถุนายน ออกมาตามคาดที่ 2.5% y-y ส่งผลให้หุ้นในสหรัฐปรับขึ้นในวันศุกร์
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เผชิญกับความผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งจากปัจจัยทางการเมืองที่นาย Joe Biden ได้ประกาศยุติบทบาทในการเข้าร่วมชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยได้ดันเบอร์สองอย่างนาง Kamala Harris ขึ้นมาแทน โดยนักลงทุนนั้น ได้มีการประเมินผลกระทบในรูปแบบต่างๆ ทั้งต่อค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และผลกระทบในรายอุตสาหกรรม ของความแตกต่างทางนโยบายของฝั่ง Donald Trump (Republicans ที่สนับสนุนการลดภาษี, สนับสนุนภาคธุรกิจ และพลังงานดั้งเดิม เป็นต้น) และ Kamala Harris (Democrats ที่สนับสนุนการขึ้นภาษี, การสนับสนุนสวัสดิการประชาชน และพลังงานสะอาด เป็นต้น) เช่นเดียวกับ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ถ้า Donald Trump ทำการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนจาก 25% เป็น 60% และเข้มงวดในการกีดกันทางเทคโนโลยีต่อประเทศจีนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ได้มีการปรับตัวลดลงกว่า 2.3% และ 3.6% ในวันที่ 24 ก.ค. โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Technology และ AI หลังจากที่บริษัท Tesla และ Alphabet (Google) ได้ทำการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 โดย Tesla นั้นมีผลกำไรที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดถึง 13% และได้ทำการเลื่อนการเปิดตัว Robotaxi (บริการ Taxi ไร้คนขับ) ออกไปเป็นเดือนต.ค. และยังไม่มีความคืบหน้าของการผลิตโมเดลรถยนต์ที่ถูกลงมา ในขณะที่ Google นั้นมีผลกำไรที่มากกว่าที่ตลาดคาดเพียงเล็กน้อยที่ 2% โดยยังคงมีรายได้จากการโฆษณาใน Google และ Youtube ที่ดี แต่รายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง AI นั้นออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้ตัวเลข GDP ของสหรัฐฯในไตรมาส 2 นั้นเติบโตกว่า 2.8% (มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.0% และมากกว่าไตรมาส 1 ที่ 1.4%) ซึ่งทำให้นักลงทุนบางส่วนนั้น เริ่มมีการเทขายหุ้นในกลุ่ม Technology ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และกลับมาไปเพิ่มการลงทุนหุ้นในกลุ่มดั้งเดิมที่ขึ้นมาน้อยกว่าตลาด อาทิเช่นกลุ่ม Financials, Energy, Industrials, Utility และ Small-caps
- ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากในสัปดาห์นี้ โดยได้รับผลกระทบในเชิง Sentiment จากแรงขายทำกำไรในตลาดสหรัฐฯ เช่นเดียวกับ ค่าเงินเยนที่ JPY/USD นั้นแข็งค่ามาแล้วกว่า 4% ในเดือนก.ค. MTD
- ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกง ได้ถูกแรงเทขาย เช่นเดียวกับตลาดโลก โดยผลของการประชุมใหญ่ของรัฐบาลจีน Third Plenum นั้น ยังคงบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนนั้น ยังคงนโยบายเศรษฐกิจแบบเดิม โดยเน้นไปที่การสนับสนุน และพัฒนาความมั่นคงทางภาคอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในระยะยาว โดยยังคงไม่มีนโยบายในการเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศที่ชัดเจน จึงทำให้นักลงทุน และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากนั้น เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนนั้น มีโอกาสที่จะชะลอตัวลง และเติบโดต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดในช่วงครึ่งปีหลัง
- ตลาดหุ้นไทย แล้ว SET -9.93 จุด (-0.8%) สู่ระดับ 1307.21 จุด จากความกังวลเรื่องการตัดสินนายกฯ ของศาลรัฐธรรมนูญ แรงขายในตลาดหุ้นทั่วโลก และ ครม. เลื่อนการอนุมัติกองทุน TESG โดยนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ Bt0.1bn แต่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ Bt0.6bn
31 กรกฎาคม: จีน PMI ภาคการผลิต (กรกฎาคม) คาดว่าอยู่ที่ 49.3 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 49.5%
31 กรกฎาคม: สหรัฐ ประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยที่ 5.5%
2 สิงหาคม: สหรัฐ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (กรกฎาคม) คาดว่าอยู่ที่ 175k โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 206k
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHSEMICON โดยลงทุนหลักใน iShares Semiconductor ETF – SOXX เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดีเช่น กลุ่มผู้ผลิตต้นน้ำ,กลุ่มผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง (Fabless Semiconductor Manufacturing),กลุ่มที่เชี่ยวชาญการผลิตชิพที่เกี่ยวข้องกับ S-Curve ใหม่ดังกล่าว หรือกลุ่มที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าคู่แข่งเป็นผู้นำตลาด หรือกลุ่มอื่นๆที่มีผลประกอบการและแนวโน้มการเติบโตโดดเด่น ตัวอย่างเช่น NVIDIA, Broadcom, AMD, Intel, Texas Instrument เป็นต้น
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน