สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทรงตัวจากปัจจัยบวกและลบ เริ่มมีแรงขายของกลุ่ม MEGA Cap
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี DJI +1.5% S&P 500 +0.6% Nasdaq +0.003% หุ้น Nvidia ทำระดับราคาสูงสุดในวันอังคาร ก่อนจะมีแรงขายทำกำไรปลายสัปดาห์ ยอดค้าปลีกสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.1% mom ต่ำกว่าคาดที่ 0.3% PMI ภาคบริการสหรัฐออกมา ที่ 55.1 ดีกว่าคาดที่ 53.7 PMI ภาคการผลิตสหรัฐออกมาที่ 51.7 ดีกว่าคาดที่ 51
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ โดยมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ จากยอดขายปลีกในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบรายเดือน (MoM) โดยการขยายตัวเกิดขึ้นใน 8 หมวดหมู่ แต่มีเพียงหมวด "Sporting, Hobby" เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกัน มี 5 หมวดหมู่ที่ยอดขายลดลง โดยเฉพาะหมวดที่เกี่ยวข้องกับ ที่อยู่อาศัย (Housing) และ อาหาร (Food) การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการฟื้นตัวที่ดี โดยเฉพาะในภาค สาธารณูปโภค (Utilities) และการผลิต (Manufacturing) ส่วนการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 238,000 ราย ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 235,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ลดลง 5,000 รายจากสัปดาห์ก่อน ในขณะเดียวกัน การยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Claims) เพิ่มขึ้นเป็น 1.828 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.81 ล้านราย และทำระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน และ ดัชนี PMI สำหรับ ภาคการผลิต (Manufacturing) ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 0.4 จุดเป็น 51.7 ซึ่งสูงกว่าที่คาดว่าจะลดลงเล็กน้อย ส่วนดัชนี PMI สำหรับ ภาคบริการ (Services) เพิ่มขึ้น 0.3 จุดเป็น 55.1 ซึ่งสูงกว่าที่คาดว่าจะลดลง 0.8 จุด ซึ่งการฟื้นตัวในภาคนี้ทำให้ดัชนีรวม (Composite PMI) อยู่ที่ 54.6 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง
- นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Technology S&P 500 เป็นกลุ่มที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84% นำโดยหุ้น Nvidia ที่ลดลง 3.2% หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลในวันพฤหัสบดีและปิดตัวลงมากกว่า 3% แต่ยังมีหุ้นในกลุ่ม บริการสื่อสาร (Communication Services) ปรับตัวขึ้นได้บ้าง , ส่วนหุ้นของ 7 นางฟ้า อื่นๆ เช่น Microsoft, Alphabet, Amazon ปรับตัวขึ้นระหว่าง 0.92% ถึง 1.89% ในขณะที่ Apple ลดลง 1.04%
- ตลาดหุ้นจีนสัปดาฟ์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีน (PBOC) ได้ประกาศนโยบายใหม่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านดอกเบี้ย โดยจะลดบทบาทของ ดอกเบี้ย MLF (Medium-Lending Facility) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2019 และให้ความสำคัญกับ ดอกเบี้ย 7-day OMO (Open Market Operation) หรืออัตรา Reverse Repurchase Rate ขณะที่ราคาบ้านยังคงปรับตัวลดลง (-3.9% YoY) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม (+5.6%) ชะลอตัวและยอดขายปลีก (+3.7% YoY) ขยายตัวมากกว่าที่คาด
- ตลาดหุ้นไทย SET -0.15 จุด (-0.01%) สู่ระดับ 1306.41 จุด เป็นการลดลง 5 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน สู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี จากแรงขายต่างชาติ และความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ Bt10.7bn แต่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ Bt0.6bn
27 มิถุนายน: สหรัฐ GDP (1Q) (QoQ) คาดว่าอยู่ที่ 1.5% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 1.3%
27 มิถุนายน: ญี่ปุ่น ยอดค้าปลีก (พฤษภาคม) (MoM) คาดว่าอยู่ที่ 0.8% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 1.2%
28 มิถุนายน: สหรัฐ PCE Deflator (พฤษภาคม) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 2.6% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.7%
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHSEMICON โดยลงทุนหลักใน iShares Semiconductor ETF – SOXX เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดีเช่น กลุ่มผู้ผลิตต้นน้ำ,กลุ่มผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง (Fabless Semiconductor Manufacturing),กลุ่มที่เชี่ยวชาญการผลิตชิพที่เกี่ยวข้องกับ S-Curve ใหม่ดังกล่าว หรือกลุ่มที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าคู่แข่งเป็นผู้นำตลาด หรือกลุ่มอื่นๆที่มีผลประกอบการและแนวโน้มการเติบโตโดดเด่น ตัวอย่างเช่น NVIDIA, Broadcom, AMD, Intel, Texas Instrument เป็นต้น
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน