สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้มีการฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบเดือน จากงบ Q1 ที่ออกมาแข็งแกร่ง
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.63%, ดัชนี Nasdaq +2.31% และดัชนี StoxxEurope600 +0.62% (ระหว่างวันที่ 19-25 เม.ย.) ในขณะที่ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.33%, ดัชนี CSI300 +1.51% และดัชนี Hang Seng +6.90% (ระหว่างวันที่ 22-26 เม.ย.)
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้มีการฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ หลังจากที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ได้มีการปรับฐานลงมา 5.6% และ 7.70% ตามลำดับ จากจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ (ต้นเดือนเม.ย.) โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นดอกเบี้ยอ้างอิงที่สำคัญของตลาดการเงินโลก) ได้ปรับตัวขึ้นกว่า 0.50% นับตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย. โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และตัวเงินเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์นั้น ได้ทำให้นักลงทุนนั้นเริ่มมองว่าธ.กลางสหรัฐฯ (Fed) นั้นอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ (ตลาดเคยคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยกว่า 1.50% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา) แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้น ได้เริ่มมีการฟื้นตัวในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ตลาดเริ่มคลายความกังวลต่อสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล และอิหร่าน เนื่องจากการยิงตอบโต้ระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายนั้น ไม่มีความเสียหายมากนัก และยังได้มีสัญญาณของการหยุดยิงชั่วคราว นอกจากนี้ 219 บริษัทในดัชนี S&P500 ได้มีการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 โดยผลกำไรของ 219 บริษัทโดยเฉลี่ยนั้น มีการเติบโต 5.61% y/y ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ถึง 9.9% นำโดยกลุ่ม Technology, Consumer Discretionary, Consumer Staples และ Health Care โดยมีหุ้นที่มีกำไรโดดเด่น อาทิเช่น Alphabet (กำไรสูงกว่าคาด 23.6%), General Motors (กำไรสูงกว่าคาด 23.8%), Meta (กำไรสูงกว่าคาด 9.4%), Boeing (กำไรสูงกว่าคาด 34.4%) และ General Electrics (กำไรสูงกว่าคาด 25.3%) เป็นต้น
- ตลาดหุ้นจีน และโดยเฉพาะฮ่องกง ได้มีการฟื้นตัวแรงในสัปดาห์นี้ โดยตลาดนั้นได้มีการคลายความกังวลต่อสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล และอิหร่าน นอกจากนี้ ตลาดนั้นได้เริ่มมีมุมมองในเชิงบวกต่อภาพของเศรษฐกิจจีน และภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปีนี้ มากขึ้น หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งบ่งชี้ถึงอุปทานในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก ถึงแม้ระดับดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกของจีน และเอเชีย เช่นเดียวกับ การที่นักลงทุนนั้นได้เริ่มมีการขายทำกำไรหุ้นในกลุ่ม Growth และ Technology ที่มีมูลค่าแพงในตลาดสหรัฐฯ และได้มีการเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclicals มากขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อเป็นขาขึ้น
- ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้วสัปดาห์ที่แล้ว SET 27.86 จุด (+2.1%) สู่ระดับ 1359.94 จุด จากแรงซื้อของต่างชาติ และกองทุนในประเทศ โดยกลุ่มที่ปรับตัวดีกว่าตลาดตามลำดับ ได้แก่ กลุ่ม ETRON(6.4%) จากความหวังผลประกอบการ และเงินทุนไหลเข้า กลุ่ม HELTH (5.6%) จากผลประกอบการที่ดีกว่าคาดมากของ BH กลุ่ม FOOD (5.5%) จากราคาไก่และไข่ที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะออกมาดีของกลุ่ม
30 เม.ย.จีน PMI ภาคการผลิต (เมษายน) คาดว่าอยู่ที่ 50.3 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 50.8
30 เม.ย. จีน PMI ภาคบริการ (เมษายน) คาดว่าอยู่ที่ 52.2 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 53.0
30 เม.ย. ยุโรป CPI (เมษายน) (YoY) คาดว่าอยู่ที่ 2.4% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.4%
30 เม.ย. ยุโรป GDP (1Q) (q-q) คาดว่าอยู่ที่ 0.2% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 0.1%
1 พ.ค. สหรัฐ การประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยที่ 5.50%
1 พ.ค. สหรัฐ ISM ภาคการผลิต (เมษายน) คาดว่าอยู่ที่ 50.1โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 50.3
3 พ.ค. สหรัฐ ISM ภาคบริการ (เมษายน) คาดว่าอยู่ที่ 52.0 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 51.4
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHSEMICON โดยลงทุนหลักใน iShares Semiconductor ETF – SOXX เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดีเช่น กลุ่มผู้ผลิตต้นน้ำ,กลุ่มผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง (Fabless Semiconductor Manufacturing),กลุ่มที่เชี่ยวชาญการผลิตชิพที่เกี่ยวข้องกับ S-Curve ใหม่ดังกล่าว หรือกลุ่มที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่าคู่แข่งเป็นผู้นำตลาด หรือกลุ่มอื่นๆที่มีผลประกอบการและแนวโน้มการเติบโตโดดเด่น ตัวอย่างเช่น NVIDIA, Broadcom, AMD, Intel, Texas Instrument เป็นต้น
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน