สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ และตลาดทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลเรื่องดอกเบี้ย
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง -3.61%, ดัชนี Nasdaq -4.99% และดัชนี StoxxEurope600 – 0.96% (ระหว่างวันที่ 11-18 เม.ย.) ในขณะที่ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวลดลง -6.21%, ดัชนี Hang Seng -2.98% แต่อย่างไรก็ตามดัชนี CSI300 ได้ปรับตัวสูงขึ้น +1.89% (ระหว่างวันที่ 12-19 เม.ย.)
- โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความกังวลต่อทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังจากที่นาย Jerome Powell ประธานธ.กลางสหรัฐฯ (Fed) และสมาชิกอื่นๆอีกหลายท่าน ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองหลังจากที่ตัวเลขการจ้างงาน, ค้าปลีก และตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมี.ค. นั้นออกมาสูงกว่าทีทาง Fed คาดการณ์ โดยตลาดนั้นได้เริ่มมองว่าทาง Fed นั้นอาจจะทำการลดดอกเบี้ยได้เพียง 1 ครั้งในปีนี้ (หรืออาจจะไม่ลดดอกเบี้ยเลย) จากระดับดอกเบี้ยนโยบายที่สูงมากที่ระดับ 5% นอกจากนี้ ตลาดยังได้มีความกังวลต่อสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล และอิหร่านที่ทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยตลาดจะจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อผลกระทบต่อแหล่งผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง และการปิดช่องทางเดินเรือในทะเลแดงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ฤดูผลประกอบการไตรมาส 1 ของ S&P500 นั้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในสัปดาห์นี้ โดยมี 67 บริษัททีประกาศผลกำไรเฉลี่ยดีกว่าที่ตลาดคาดราวๆ 9.7% โดยมีกว่า 52 บริษัทที่มีผลกำไรดีกว่าคาด นำโดยบริษัท United Health, Costco, JP Morgan, Bank of America, Fedex, Citigroup, Wells Fargo, Morgan Stanley, Goldman Sachs และ United Airlines เป็นต้น
- ตลาดหุ้นยุโรป ยังคงมีความแข็งแกร่งกว่าตลาดสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ โดยตัวเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือนมี.ค. นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.8% m/m และ +2.4% y/y ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 0.1% โดยตลาดยังคงเชื่อว่าธ.กลางยุโรป (ECB) จะเริ่มทำการลดดอกเบี้ยครั้งแรกในวันที่ 6 มิ.ย. และจะลดดอกเบี้ยได้ 3 ครั้งในปีนี้ (มากกว่าสหรัฐฯ) นอกจากนี้ 38 บริษัทในดัชนี StoxxEurope600 ได้ทำการประกาศผลประกอบการของไตรมาส 1 ซึ่งผลกำไรโดยเฉลี่ยออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดราวๆ 11% นำโดยบริษัท Volvo, Ericsson, Nokia, Henness & Mauri, Nordea Bank, Schindler และ ASML เป็นต้น
- ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ ได้ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับตลาดส่วนใหญ่ทั่วโลก ในสัปดาห์นี้ โดยถึงแม้ว่าตัวเลข Industrial Production และ Retails Sales เดือนมี.ค. นั้นออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด แต่อย่างไรก็ตามตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของจีนนั้น ได้เติบโตกว่า 5.3% y/y และ 1.6% q/q ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์พอสมควร
- ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้ว SET -60.30 จุด (-4.6%) สู่ระดับ 1332.08 จุด จากแรงขายของต่างชาติ ทำให้ SET น่าจะต้องใช้เวลาในการปรับฐานระยะนึง ขณะที่แนวรับทางเทคนิคมีตั้งแต่ 1320 จุด
23 เมษายน: ยุโรป PMI ภาคการบริการ (เมษายน) คาดว่าอยู่ที่ 51.4โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 51.5
23 เมษายน ไทย ส่งออก (มีนาคม) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ -3.9% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 3.6%
25 เมษายน สหรัฐ GDP (1Q) (q-q) คาดว่าอยู่ที่ 2.3% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 3.4%
26 เมษายน สหรัฐ PCE Deflator (Mar) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 2.6% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.5%
26 เมษายน ญี่ปุ่น การประชุม BoJ คาดยังคงนโยาบายเดิม
22-26 เมษายน ติดตามงบ Q1 ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่ทยอยออกมา เช่น VISA ,META , Microsoft , Google เป็นต้น
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHUS มีกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนในกองทุนหลักทั้ง Baillie Gifford US Growth Fund และ Artificial Intelligence & Technology ETF (AIQ) เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรในระยะยาว ในหุ้นกลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์เติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Software, Innovative Healthcare, EV Car, Fintech, AI
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน