สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เผชิญกับแรงขายทำกำไร ตลาดจีนกังวลร่างกฎหมายกีดกันนักลงทุนฝั่งสหรัฐฯ
และทั้งโลกกำลังกังวลกับเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง 1.4%, ดัชนี Nasdaq -1.9% และดัชนี DAX -0.9% ในขณะที่ดัชนี CSI300 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.0% แต่ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวลดลง 3.2% และดัชนี Hang Seng ปรับตัวลดลง 2.8% (ระหว่างวันที่ 12-16 เม.ย.) จากตัวเลข CPI สหรัฐ ออกมาที่ 0.4% m-m สูงกว่าคาดที่ 0.3% ทำให้โอกาสการลดดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่จะปรับลงในมิถุนายนลดลงเป็น 27% จาก 56% ในสัปดาห์ก่อน
- โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เผชิญกับแรงขายทำกำไรในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ตลาดได้ปรับตัวขึ้นมา 5 เดือนติดต่อกัน โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 10 ปี (ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่สำคัญของตลาดการเงินโลก) นั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 4.65% จากหลายปัจจัย อาทิเช่น ตัวเลข Consumer Confidence, Personal Spending และ Atlanta Fed GDP Nowcast ที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งบ่งชี้ถึงกำลังซื้อของชาวสหรัฐฯที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบนั้นได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน หลังจากที่สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-อิหร่าน นั้นเริ่มมีความทวีความรุนแรงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับเงินเฟ้ออาจจะกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง และเกิดแรงขายทำกำไรหุ้นกลุ่ม Technology และ Growth Stocks จากระดับราคาที่อยู่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยตลาดยังคงมีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น Laggards และกลุ่มหุ้นดั้งเดิมอย่างกลุ่ม Metals, Mining, Energy Utilities และกลุ่ม Small caps
- ตลาดหุ้นจีนและฮ่องยังคงไม่ฟื้นตัวหลังจากที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกร่างกฎหมายที่กีดกันนักลงทุนสหรัฐฯ ในการลงทุนในสินทรัพย์จีน โดยให้เหตุผลทางด้านความโปร่งใสของงบการเงิน และความเสี่ยงของการที่บริษัทจีนนั้นถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีนต่างๆ ซึ่งทางรัฐบาลจีนนั้นได้ทำการตอบโต้ด้วยการฟ้องร้องต่อ WTO ว่าสหรัฐฯนั้นมีการกีดกันทางการค้าในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า เช่นเดียวกับ การที่รัฐบาลจีนนั้นมีแผนที่จะมีการประกาศแบน Software และ Technology จากสหรัฐฯเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงนั้นได้มีการฟื้นตัวในช่วงท้ายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนนั้นมองว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้อยู่แล้ว และนักลงทุนต่างชาตินั้นได้ออกจากตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงไปมากแล้วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์ที่แล้ว SET +20.80 จุด (+1.5%) สู่ระดับ 1396.38 จุด จากแรงซื้อของต่างชาติ โดยนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ Bt7.9bn และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ Bt2.2bn ตามลำดับ
17 เมษายน ยุโรป เงินเฟ้อ (มีนาคม) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 2.4% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.6%
18 เมษายน ญี่ปุ่น เงินเฟ้อ (มีนาคม) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 2.8% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.8%
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHUS มีกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนในกองทุนหลักทั้ง Baillie Gifford US Growth Fund และ Artificial Intelligence & Technology ETF (AIQ) เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรในระยะยาว ในหุ้นกลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์เติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Software, Innovative Healthcare, EV Car, Fintech, AI
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน