สรุปภาวะตลาด
ตลาดหุ้นสหรัฐฯทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ต่อเนื่อง ส่วนจีนประกาศ PMI ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Dow +0.8% S&P 500 +0.4% แต่ Nasdaq -0.3% โดย Dow และ S&P 500 ทำระดับสูงสุดใหม่ จากความหวังในการลดดอกเบี้ย และ soft landing ของสหรัฐ GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐปรับขึ้น 3.4% y-y จากคราวก่อนที่ 3.2% y-y โอกาสลดดอกเบี้ยในมิถุนายน ปรับขึ้นเป็น 75% จากสัปดาห์ก่อนที่ 55% ส่วน EU ได้ตรวจสอบ Apple, Meta และ Google ที่อาจทำผิดกฎหมาย Digital Market
- โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้กลับมาทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์อีกครั้ง โดยตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการที่ธ.กลางสหรัฐฯ (Fed), ธ.กลางยุโรป (ECB) และธ.กลางส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วนั้น ได้เริ่มส่งสัญญาณถึงการผ่านจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ย และมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังของปีนี้ ในขณะที่ตลาดนั้นได้เริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น จากการปรับตัวเลขคาดการณ์ GDP ของสหรัฐฯขึ้น และตัวเลขภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่เริ่มมีการฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดนั้นได้เผชิญกับปัจจัยลบจากการ “Rebalancing” หรือการปรับพอร์ตของนักลงทุนสถาบันในช่วงสิ้นไตรมาส หลังจากที่หุ้นกลุ่ม Technology นั้นได้ขึ้นมากกว่าสินทรัพย์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งได้ทำให้นักลงทุนสถาบันบางส่วนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มที่ขึ้นมาสูง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น Laggards เพื่อรักษาอัตราส่วนในการลงทุนให้เหมาะสมก่อนปิดไตรมาส 1 ซึ่งเห็นได้จากการขายทำกำไรในกลุ่ม Technology และการปรับตัวสูงขึ้นของกลุ่มหุ้นดั้งเดิมอย่างกลุ่ม Metals, Mining, Energy Utilities และกลุ่ม Small caps และยังรวมถึงตลาดตราสารหนี้
- ตลาดหุ้นฮ่องกง และจีน ปรับตัวผันผวนในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกร่างกฎหมายที่กีดกันนักลงทุนสหรัฐฯ ในการลงทุนในสินทรัพย์จีน โดยให้เหตุผลทางด้านความโปร่งใสของงบการเงิน และความเสี่ยงของการที่บริษัทจีนนั้นถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีนต่างๆ ซึ่งทางรัฐบาลจีนนั้นได้ทำการตอบโต้ด้วยการฟ้องร้องต่อ WTO ว่าสหรัฐฯนั้นมีการกีดกันทางการค้าในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า เช่นเดียวกับ การที่รัฐบาลจีนนั้นมีแผนที่จะมีการประกาศแบน Software และ Technology จากสหรัฐฯเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงนั้นได้มีการฟื้นตัวในช่วงท้ายสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนนั้นมองว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้อยู่แล้ว และในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จีนประกาศตัวเลข PMI ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน PMI ภาคการผลิตเดือน มี.ค. ของจีน 50.8 จุด จากเดือนก่อน 49.1 และดีกว่าตลาดคาดที่ 50.1 จุด ส่วนภาคบริการอยู่ที่ 53 จุด ดีกว่าคาดเช่นกันที่ 51.3 จุด ถือเป็นสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
1 เม.ย. สหรัฐ ISM ภาคการผลิต (มีนาคม) คาดว่าอยู่ที่ 48.5 โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 47.8
3 เม.ย. ยุโรป เงินเฟ้อ (มีนาคม) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 2.5% โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 2.6%
4 เม.ย. Fed Powell ให้สัมภาษณ์
5 เม.ย. สหรัฐ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (มีนาคม) คาดว่าอยู่ที่ 215k โดยเดือนก่อนอยู่ที่ 275k
5 เม.ย. ไทย เงินเฟ้อ (มีนาคม) (y-y) คาดว่าอยู่ที่ 0.8%
- LHGEQ มีกลยุทธ์การลงทุนใน Quality Growth Stock และบริหารแบบเชิงรุก เน้นคัดหุ้นที่มีคุณภาพและแนวโน้มการเติบโตของกำไรในหุ้นทั่วโลก โดยเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคของ S&P 500 Index ที่ปิดเหนือ All time high เราจึงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Big/Mid Cap , Growth มีโอกาสไปต่อได้อีก
- LHUS มีกลยุทธ์ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนในกองทุนหลักทั้ง Baillie Gifford US Growth Fund และ Artificial Intelligence & Technology ETF (AIQ) เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรในระยะยาว ในหุ้นกลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์เติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Software, Innovative Healthcare, EV Car, Fintech, AI
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน