สรุปภาวะตลาด
เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 (2-5 ต.ค.) ได้ปรับตัวลดลง 0.70% และดัชนี Nasdaq นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ได้ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 5 โดยปรับตัวลดลง 22.17 จุด (-1.5%) โดยตลาดยังคงเผชิญกับแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ที่ได้มีการขายหุ้นไทย (2-5 ต.ค.) เป็นจำนวนเงินอีก 7,100 ล้านบาท และขายตราสารหนี้ไทยกว่า 4,520 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยค่าเงินบาทยังคงมีการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 ลงไปที่ระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากการแข็งค่าของค่าเงิน US Dollar และการอ่อนค่าของค่าเงินในเอเชีย ทั้งจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย และส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับที่สูงกว่ามาก
- อัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรทั่วโลก ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 นั้นได้สร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งในแง่ของต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์ทุกประเภท
- แต่อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯรุ่น 10 ปี ดังกล่าวได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 0.08% ในวันที่ 4-5 ต.ค. หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน (ADP Employment) เดือนก.ย. นั้นออกมาที่ 89,000 ตำแหน่ง (ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 150,000 และต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 180,000 ตำแหน่ง) นอกจากนี้ ตัวเลขภาคบริการเดือนก.ย.ของสหรัฐฯ (S&P US Services PMI) ออกมาที่ 50.1 จุด (ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และเดือนส.ค.ที่ 50.2 จุด) เช่นเดียวกับ ตัวเลขขอสินเชื่อบ้านที่ปรับตัวลดลงกว่า 6% w/w ซึ่งทั้งหมดเริ่มบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยตลาดจะจับตามองตัวเลขการจ้างงาน Non-farm Payrolls และอัตราการว่างงานเดือนก.ย. ในคืนวันที่ 6 ต.ค. อย่างใกล้ชิด
- ในส่วนของราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ ได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก ราวๆ 9-14% โดยมีหลายปัจจัยที่สำคัญ อาทิเช่น (1) นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์จำนวนมาก ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2024 นั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหดตัว (Global Recession) และมีความเสี่ยงของวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และภาวะดอกเบี้ยที่สูงมากในสหรัฐฯ และยุโรป ในขณะที่เงินเฟ้อทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูง และ (2) ตัวเลขอุปสงค์ของการบริโภคน้ำมันแก๊สโซลีน (Gasoline demand) ของสหรัฐฯ (ประเทศที่บริโภคน้ำมันมากที่สุดในโลก) ในสัปดาห์ล่าสุด นั้นได้ลดลงเป็นอย่างมากลงมาที่ 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากต้นเดือนก.ย. ที่ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) จากปัจจัยทางด้านฤดูกาลที่ สหรัฐฯนั้นได้ผ่านช่วงจุดสูงสุดของฤดูร้อน (ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว) มาแล้ว
- ในส่วนของตลาดหุ้นยุโรป ตลาดส่วนใหญ่ได้มีการปรับตัวลดลงราวๆ 1.5-2.0% หลังจากที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลยุโรป ได้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี
- 9 ต.ค. ไทย: Consumer Confidence เดือนก.ย. โดยตัวเลขเดือนส.ค. อยู่ที่ 51.6 จุด
- 9 ต.ค. ยุโรป: Sentix Investor Confidence เดือนต.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ -23 จุด (ต่ำกว่าเดือนก.ย. ที่ -21.5 จุด)
- 12 ต.ค. สหรัฐฯ: CPI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 3.6% y/y และ 0.3% m/m (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 3.7% y/y และ 0.6% m/m) , Core CPI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 4.1% y/y และ 0.3% m/m (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 4.3% y/y และ 0.3% m/m)
- 13 ต.ค. จีน: CPI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 0.2% y/y (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 0.1% y/y) , PPI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ -2.4% y/y (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ -3.0% y/y) , Exports เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ -7.3% y/y (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ -8.8% y/y) , Imports เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ -6.0% y/y (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ -7.3% y/y)
- 13 ต.ค. สหรัฐฯ: U. of Michigan Sentiment เดือนต.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 67.5 จุด (ต่ำกว่าเดือนก.ย.ที่ 68.1 จุด)
- 9-15 ต.ค. จีน: New Yuan Loans เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 2.5 ล้านล้านหยวน (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 1.358 ล้านล้านหยวน) , Money Supply M2 เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 10.6% (เท่ากับเดือนส.ค.)
- Earning Q3 23
- อัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์นั้น ได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนทั่วโลก โดยตลาดยังคงจับตามองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯรุ่นอายุ 10 ปีนั้น จะทะลุทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 5.0% หรือไม่ ในเดือนต.ค. นี้ โดยเฉพาะจากปริมาณการออกพันธบัตรใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯเป็นจำนวนมาก และการทำ Quantitative Easing จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าตัวเลขเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของสหรัฐฯ นั้นยังคงมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 4 นั้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรไม่น่าสูงขึ้นได้อีกมาก
- ในขณะที่ตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น นั้นยังคงมีแนวโน้มของผลประกอบการในไตรมาส 3 และ 4 ที่โดดเด่นกว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะกลุ่ม Technology ขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ยังคงมีการเติบโตของรายได้จากธุรกิจอย่าง AI, Cloud และ Data Center ต่างๆ ในขณะที่บริษัทได้มีการลดพนักงานลง และไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนแรงงานเหมือนในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ในขณะที่ผลกำไรของบริษัทญี่ปุ่น นั้นยังคงได้ประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า และข้อได้เปรียบจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลก
- ตลาดหุ้นไทย ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว โดยทางเรามองว่าถ้าหากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ นั้นได้ผ่านจุดสูงสุด จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นั้นจะทำให้แรงซื้อของค่าเงินบาท และสินทรัพย์ในประเทศไทย นั้นจะกลับมาอีกครั้ง โดยตลาดหุ้นไทยนั้น ปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับที่ Oversold ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยว และการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลชุดใหม่ นั้นจะสามารถเป็น Upside สำหรับตลาดหุ้นไทยได้
กองทุนแนะนำ
- LHGEQ : กระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดี มีหนี้สินต่ำ เป็นผู้นำในตลาด มีกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะถัดไปคาดว่าตลาดหุ้นยังเป็น sideway up จากดอกเบี้ยทั่วโลกที่ใกล้ระดับสูงสุดแล้ว
- LHHEALTH : เหมาะกับตลาดทั้งขาลงและขาขึ้น มีสัดส่วนประมาณ 50% ใน pharmaceutical, healthcare services ที่ค่อนข้าง defensive สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ อายุที่เพิ่มขึ้น หรือ รายได้เพิ่มขึ้น และอีก 50% ในกลุ่ม healthcare เช่น biotech , life sciences, healthcare equipment ที่มี growth สูง ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
- LHESPORT : การเติบโตของรายได้ที่สม่ําเสมอ บริษัทวิดีโอเกมมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาโดย กระจายไปทั่วแพลตฟอร์มและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ตอนนี้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ใหญ่ที่สุดของรายได้จากเกมทั่วโลก ใหญ่กว่าทั้งพีซีและคอนโซล
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing.com, Bloomberg, ThaiPBS
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน