LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด




เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา


 
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี (25-28 ก.ย.)  MSCI World S&P500 และ NASDAQ ได้ปรับตัวลดลง 0.9% 0.451% และ ปรับตัวขึ้น 0.03% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Shanghai composite ปรับตัวลดลง 1.31% และ Hang Seng index ปรับตัวลดลง 3.79%  ในส่วนของตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ได้ปรับตัวลดลง 2.66%
  •  ต่างชาติ ที่ได้มีการขายหุ้นไทยเป็นจำนวนเงินอีก 3,000 ล้านบาท แต่ตลาดตราสารหนี้ไทยได้มีแรงซื้อ 1,250 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยค่าเงินบาทยังคงมีการอ่อนค่าไปที่ระดับ 36.52 บาทต่อดอลลาร์ ถึงแม้ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ได้ทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 2.25% เป็น 2.50% แล้วก็ตาม
  • ผลการประชุมของธ.กลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 20 ก.ย. (ที่ธ.กลางปรับอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ในปี 2024 ขึ้น 0.5%) ยังคงส่งผลต่อตลาดต่อเนื่องมายังสัปดาห์นี้ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี (หรือดอกเบี้ยไร้ความเสี่ยงในตลาด) ได้ปรับตัวขึ้นอีก 0.18% และทำจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี ที่ 4.61% ในวันที่ 27 ก.ย. และได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดพันธบัตรทั่วโลก ได้ปรับตัวสูงขึ้นตาม และได้สร้างความกังวลให้กับตลาดต่อผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยสูง ที่เป็นทั้งต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ และส่งผลลบต่อ Valuations (หรือมูลค่า) ของสินทรัพย์ทั่วโลก
  • เช่นเดียวกับ ราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอีก 3% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ตัวเลขสต็อคคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะคลังน้ำมันที่ Cushing, Oklahoma ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการผลิตน้ำมันที่สำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะที่ Demand น้ำมันดิบที่มากกว่า Supply (ความต้องการซื้อ มากกว่ากำลังการผลิตในตลาด) จากการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ และรัสเซีย กว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และสหรัฐฯ ที่ยังคงไม่ลงทุนขุดเจาะน้ำมันเพิ่มเติม ซึ่งสวนทางกับความต้องการน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในสหรัฐฯ และประเทศจีน
  • โดยดัชนี S&P500 ยังคงปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 และได้ลงมาทดสอบแนวรับที่สำคัญอย่างเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน หรือระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ที่ประมาณ 4,200 แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีได้มีแรงซื้อ และกลับมาปรับตัวสูงขึ้นในวันที่ 27-28 ก.ย. โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นกลุ่ม Technology ที่ตลาดมีการคาดการณ์ว่าผลประกอบการณ์ในไตรมาส 3 นั้นจะโดดเด่นกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น
  • เช่นเดียวกับแรงซื้อที่เริ่มเข้ามาในตลาดพันธบัตรัฐบาล โดยอัตรา bond yields ได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในวันที่ 27-28 ก.ย. เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว อาทิเช่น ตัวเลข New Home Sales และ Pending Home Sales ที่ปรับตัวลดลงถึง -7 ถึง -8% m/m (มากกว่าตลาดคาดที่ -2% m/m) ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการขอสินเชื่อบ้านที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบของภาวะดอกเบี้ยสูงที่ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในสินค้าใหญ่แล้ว เช่นเดียวกับ ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนก.ย. ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดเป็นเดือนที่ 2 จากผลกระทบของราคาน้ำมันแพง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นอย่างมาก
  • ในส่วนของตลาดหุ้นยุโรป ตลาดได้เริ่มมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบ 2 เดือน หลังจากที่ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ CPI ของเดือนก.ย. นั้นออกมาที่ 4.3% y/y และ 0.3% m/m และ Core CPI ที่ 4.5% y/y ซึ่งต่ำกว่าเดือนส.ค. ราวๆ 0.7% และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ทั้งหมดราวๆ 0.2% ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของยุโรปที่ชะลอตัวนั้น เริ่มส่งผลทำให้ภาวะเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 
  • ในส่วนของตลาดหุ้นจีน และฮ่องกง ได้มีการปรับตัวลดลงในวันที่ 25-28 ก.ย. หลังจากที่รัฐบาลจีนนั้น ยังคงไม่มีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ ตามที่เป็นกระแสข่าวลือใน social media ในสัปดาห์ที่แล้ว เช่นเดียวกับ ความกังวลต่อตลาดอสังหาฯ หลังจากที่ผู้บริหารของ Evergrande นั้นได้ถูกจับกุมในข้อหากล่าวหาทางอาชญากรรมต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดได้มีการฟื้นได้ดีในวันที่ 29 ก.ย. โดยนักลงทุนบางส่วนนั้น ยังมีความคาดหวังต่อมาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐฯในช่วงวันหยุดยาว National Day และเศรษฐกิจโลกที่อาจจะยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตามที่หลายฝ่ายกังวลในไตรมาส 4 นี้ 

 
  • 30 ก.ย. จีน: China Manufacturing PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 50.1 จุด (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 49.7 จุด), China Non-Manufacturing PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 51.6 จุด (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 51.0 จุด) 
  • 1 ต.ค. จีน: Caixin China Manufacturing PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 51.2 จุด (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 51.0 จุด)  
  • 1 ต.ค. จีน: Caixin China Services PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 52.0 จุด (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 51.8 จุด)  
  • 2 ต.ค. ยุโรป: Eurozone Manufacturing PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 43.4 จุด (เท่ากับเดือนส.ค.ที่ 43.4 จุด)  
  • 2 ต.ค. สหรัฐฯ: US Manufacturing PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 48.9 จุด (เท่ากับเดือนส.ค.ที่ 48.9 จุด) , US ISM Manufacturing เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 47.8 จุด (สูงกว่าเดือนส.ค.ที่ 47.6 จุด) 
  • 3 ต.ค. สหรัฐฯ: JOLTS Job Openings เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 8.9 ล้านตำแหน่ง (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ 8.83 ล้านตำแหน่ง)
  • 4 ต.ค. ยุโรป: Eurozone Services PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 48.4 จุด (เท่ากับเดือนส.ค.ที่ 48.4 จุด) , Retail Sales เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ -0.5% m/m และ -0.5% y/y  (เทียบกับเดือนก.ค.ที่ -0.2% m/m และ -1% y/y)
  • 4 ต.ค. สหรัฐฯ: US Services PMI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 50.2 จุด (เท่ากับเดือนส.ค.ที่ 50.2 จุด), ISM Services Index เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 53.5 จุด (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 54.5 จุด) 
  • 5 ต.ค. ไทย: CPI เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ -0.15% m/m และ 0.80% y/y (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 0.55% m/m และ 0.88% y/y)  
  • 6 ต.ค. สหรัฐฯ: ตัวเลขการจ้างงาน Non-farm Payrolls เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 165,000 ตำแหน่ง (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 187,000 ตำแหน่ง) , Unemployment Rate เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 3.7% (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 3.8%)

 
  • หลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลก ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในเดือนส.ค. และก.ย. จากความกังวลต่ออัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2024 แต่อย่างไรก็ตาม ทางเรานั้นมีมุมมองว่า นักลงทุนในตลาดทั้งสถาบัน และรายย่อย นั้นได้มีการเทขายหุ้น และรับรู้ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวไปมากแล้ว ในขณะที่แนวโน้มของตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกนั้น จะปรับตัวลดลงต่อเนื่องในไตรมาส 4 ในขณะที่ผลประกอบการในไตรมาส 3 และเศรษฐกิจโลกโดยรวมในไตรมาส 4 นั้นคาดว่าจะยังคงสามารถเติบโตได้ โดยมีราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง
  • หลังจากที่ตลาดหุ้นจีน ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในวันศุกร์ที่ 29 ก.ย. จากความคาดหวังของตลาด ต่อมาตรการของภาครัฐฯเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจในช่วงวันหยุดยาว National Day แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน จะยังคงเผชิญกับความท้าทายของการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ที่ยังคงต้องใช้หลายมาตรการจากทางภาครัฐ ในการฟื้นความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่ำมาก
  • นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังคงจับตามองแนวโน้มของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยตลาดยังคงจับตามองการแข็งค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และการอ่อนค่าของค่าเงินหยวน และค่าเงินเยน เพื่อรอดูจุดกลับตัวของค่าเงินบาท นอกจากนี้ ตลาดยังต้องการฟังความชัดเจนของแหล่งเงินทุน ในการออกมาตรการ Digital Wallet (เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามาตรการดังกล่าว สามารถออกมาได้ด้วยดีนั้น จะส่งผลดีโดยตรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตามองแนวโน้มของผลประกอบการของบริษัทไทยในไตรมาส 3 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงไม่ได้มีการฟื้นตัวมากนักในไตรมาส 3

กองทุนแนะนำ 
  • LHGEQ : กระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดี มีหนี้สินต่ำ เป็นผู้นำในตลาด มีกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะถัดไปคาดว่าตลาดหุ้นยังเป็น sideway up จากดอกเบี้ยทั่วโลกที่ใกล้ระดับสูงสุดแล้ว
  • LHHEALTH : เหมาะกับตลาดทั้งขาลงและขาขึ้น มีสัดส่วนประมาณ 50% ใน pharmaceutical, healthcare services ที่ค่อนข้าง defensive สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ อายุที่เพิ่มขึ้น หรือ รายได้เพิ่มขึ้น และอีก 50% ในกลุ่ม healthcare เช่น biotech , life sciences, healthcare equipment ที่มี growth สูง ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 
  • LHESPORT : การเติบโตของรายได้ที่สม่ําเสมอ บริษัทวิดีโอเกมมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาโดย กระจายไปทั่วแพลตฟอร์มและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ตอนนี้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ใหญ่ที่สุดของรายได้จากเกมทั่วโลก ใหญ่กว่าทั้งพีซีและคอนโซล LHESPORT ปรับตัวลงการขายทำกำไรกว่า 15% ตั้งแต่เดือน ก.ค. 23 มองป็นโอกาส tradin
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing.com, Bloomberg, ThaiPBS
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ