สรุปภาวะตลาด
“ติดตามความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังสหรัฐฯ ยิงทำลายบอลลูนเอกชนของจีนในน่านฟ้าสหรัฐฯ”
ดัชนี Nasdaq ตัวแทนหุ้นกลุ่ม Growth ยังเพิ่มขึ้นอีก 3.3% หลัง Facebook มีรายได้ดีกว่าคาดรวมถึงประกาศซื้อหุ้นคืนปริมาณมาก นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการที่ FED ส่งสัญญาณมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อสามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มหยุดขึ้นดอกเบี้ยรวมถึงลดดอกเบี้ยถ้าเศรษฐกิจไม่ดี อย่างไรก็ดี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวลงในคืนวันศุกร์หลัง Amazon, Apple และ Google มีผลประกอบการต่ำกว่าคาด ขณะที่ US Bond yield 2 และ 10 ปี และ Dollar Index ทรงตัวที่ 4.3%, 3.5% และ 103 จุด ตามลำดับ
- เงินเฟ้อของไทยเดือน ม.ค.? คาด +5.12% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +5.89% YoY)
- ผลประกอบการไตรมาส 4/2565 ของบริษัทไทยในกลุ่ม Real sector ซึ่งจะมีผลต่อการปรับประมาณการณ์กำไรต่อหุ้น
- ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk) ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน หลังสหรัฐฯ ยิงทำลายบอลลูนเอกชนของจีนที่ลอยเข้าไปเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ
- ระยะสั้น คาดตลาดหุ้นมีแนวโน้มลดความร้อนแรง หลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี แนะนำ Let profit run สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และ Take profit บางส่วนรอจังหวะเข้าลงทุนสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำถึงปานกลาง และต้องติดตามประเด็น Geopolitical risk ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อย่างใกล้ชิด
- ระยะกลางยาว เราแนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดปรับตัวลง เนื่องจากการที่ดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงในครึ่งปีหลังจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนความน่าสนใจลงทุนในหุ้น
- หุ้นไทย ด้วย SET Index ระดับใกล้ 1,700 จุด ทำให้ยังแนะนำกองทุน LHSTRATEGY เช่นเดิม และเพิ่มกองทุน LHMSFL ที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลางเล็กแต่โอกาสเติบโตสูง ซึ่งมีโอกาสที่จะมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนหลังหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นต่อได้ยาก
- หุ้นเวียดนาม แนะนำทยอยลงทุนระยะยาว 5 ปี ขึ้นไป สำหรับกองทุน LHVN เพื่อเติบโตไปกับเศรษฐกิจเวียดนาม
- PF, REITs, IFF ไทย ที่เงินปันผลฟื้นตัวต่อเนื่อง และสูงกว่าค่าเฉลี่ย รวมถึงได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ปรับตัวลง แนะนำทยอยลงทุนกองทุน LHTPROP
- ตราสารหนี้ระยะกลางยาวมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จาก bond yield ที่มีแนวโน้มลดลงเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจถดถอย แนะนำกองทุน LHGINCOME รวมถึงได้ประโยชน์หากเกิด risk off หาก Geopolitical risk ทวีความรุนแรง
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing, Reuters 5 ก.พ. 66
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน