สรุปภาวะตลาด
"ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ และผลประชุม FED ชี้ทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง"
ภาคบริการของสหรัฐฯ ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเดือนพ.ย. ที่ 56.5 มากกว่าคาดที่ 53.3 ขณะที่ดัชนีเงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนพ.ย. โดยเพิ่มขึ้น 0.3% มากกว่าคาดที่ 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลง โดย S&P500 และ Nasdaq ลดลง 1.6% และ 2% ตามลำดับ กดดันโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังร้อนแรงทำให้นักลงทุนกังวลว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยและคงไว้ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลงแรงเกือบ 7% หลังเพิ่มขึ้นแรงต่อเนื่องใน 2 สัปดาห์ก่อน ขณะที่ตลาดหุ้นจีน H-Shares ที่ลดลงกว่า 3% จากแรงเทขายทำกำไร ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 2 และ 10 ปี และ Dollar Index ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยอยู่ที่ 4.3% 3.5% และ 104 จุด ตามลำดับ
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและทั่วไปเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ (คาด 6.1% และ 7.3% yoy ตามลำดับ) หากลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 6.3% และ 7.3% yoy จะเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยง
- ผลการประชุม FED ในวันที่ 13-14 ธ.ค. ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยที่ FED ปรับขึ้นไปสูงสุด (Terminal Rate) ในรอบนี้ ไม่เกินกว่า 5-5.25% และมีการลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จะเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยง
- ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.5% มาอยู่ที่ 2%
- ระยะสั้น คาดสินทรัพย์เสี่ยงยังผันผวนสูง โดยขึ้นกับเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะประกาศคืนวันที่ 13 ธ.ค. และผลการประชุม FED เป็นสำคัญ โดยมองว่าเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงเร็วตามตลาดคาดการณ์ แต่อาจมีปัจจัยบวกหากองค์ประกอบเงินเฟ้อในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง ขณะที่ FED จะยังขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ตามคาดการณ์แม้เงินเฟ้อเดือนพ.ย. จะสูงกว่าคาด เพราะผลของการขึ้นดอกเบี้ยอาจต้องรออีก 6 เดือนกว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริง
- ระยะกลางยาว มองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมกองทุนหุ้น ทั้งกองทุนรวมหุ้น และ SSF, RMF หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด เนื่องจากธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลงในอนาคต และจากการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในปีนี้ทำให้มีมาตรการเพื่อรับมือเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้การทยอยเปิดประเทศของจีนหากทำได้จริงอาจช่วยให้เศรษฐกิจโลกไม่ชะลอลงแรง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่อาจไม่ต้องปรับลดคาดการณ์ลงรุนแรง
- หุ้นไทย น่าสนใจลงทุนด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่องในปีหน้าหนุนโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติและการบริโภค #LHSTRATEGY
- หุ้นเวียดนาม หลังเกิดการขายทำกำไรในระยะสั้น เป็นโอกาสในการทยอยลงทุนระยะยาว #LHVN
- หุ้นสหรัฐฯ: หุ้นของบริษัทที่ปันผลสูง และ/หรือ ซื้อหุ้นคืนสูง เหมาะกับการลงทุนช่วงตลาดผันผวน #LHDIVB
- หุ้นโลกที่ได้ประโยชน์จากความต้องการด้าน cybersecurity ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว #LHCYBER
- หุ้นโลกที่เติบโตตามเศรษฐกิจยุคดิจิตอล และปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา มีโอกาสฟื้นตัวแรง หากเงินเฟ้อส่งสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง และ Terminal Rate ไม่สูงกว่าคาด #LHDIGITAL
ที่มา LHFUND, Bloomberg, CNBC, Investing 11 ธ.ค. 65
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน