สรุปภาวะตลาด
"ช่องแคบไต้หวันคุกรุ่น หุ้นกลุ่มใดอาจได้ประโยชน์?"
ในที่สุด เครื่องบินของ Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ก็บินลงที่สนามบินไทเปได้สำเร็จเมื่อคืนที่ผ่านมา เที่ยวบินดังกล่าวมีคนติดตามมากที่สุด จนเว็บติดตามสถานะเครื่องบินอย่าง flightradar24 ล่มไปเลยทีเดียว โดยไฟลท์ดังกล่าวใช้เวลาบินถึง 7 ชั่วโมง (จริงๆ ควรใช้เวลาบินแค่ 4 ชั่วโมง)
ฟากจีนตอบโต้ดังนี้
- ประณามการเดินทางมาว่าเป็นการละเมิดอธิปไตย และทำให้ความสัมพันธ์ของจีนและสหรัฐฯ แย่ลง
- ประกาศซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวันในระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม
- แบนการนำเข้าสินค้าทางการเกษตรและอาหารจากไต้หวัน จำนวนบริษัทกว่า 2,000 บริษัท
- CATL บริษัทแบตเตอรี่ EV ขนาดใหญ่ประกาศระงับการลงทุนในอเมริกา (เพื่อส่งให้ TESLA, Fords)
ความสำคัญของช่องแคบไต้หวัน
ปัจจุบันมีบริษัทเดินเรือกว่า 5,400 บริษัท ประมาณ 50% ใช้เส้นทางผ่านช่องแคบไต้หวัน และใน Top Ten ของบริษัทเดินเรือ ประมาณ 80% เดินทางผ่านช่องแคบไต้หวัน
สิ่งที่ต้องติดตามคือจะมีความรุนแรงหรือมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมนอกจากมาตรการที่ออกมาแล้วหรือไม่
โดยเรามอง scenario ดังนี้
- หากไม่มีออกมาเพิ่มเติมคาดความกดดันต่อตลาดหุ้นจะค่อยๆ ลดลงในระยะถัดไป
- หากมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม และเป็นมาตรการที่รุนแรง เช่นการปิดการขนส่งผ่านช่องแคบไต้หวัน จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากจะทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้น เกิดสถานการณ์ชิพเซมิคอนดัคเตอร์ขาดแคลนอีกครั้ง และส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ซึ่งจะเป็นผลลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้ง
มองว่าหากความกังวล และสถานการณ์ยังยืดเยื้ออาจเห็น fund flow ไหลออกจากหุ้นเอเชียเหนือ ไปยังเอเชียใต้มากขึ้น โดยเอเชียใต้เช่นไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มีแนวโน้มได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเพื่อกระจายความเสี่ยงด้าน supply chain เป็นต้น
ผลกระทบต่อตลาดหุ้นที่เกี่ยวข้องในอดีตที่เคยมี tension ในช่องแคบไต้หวัน 1 สัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ เป็นดังนี้
- TWSE Index ตลาดหุ้นไต้หวัน: ลดลง 1% - 8%
- S&P500 Index ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: เคลื่อนไหว -0.3% - +2.9%
- MSCI China ตลาดหุ้นจีน: เคลื่อนไหว -5.9% - +0.7%
Food for Thought ไต้หวันมีความสำคัญต่อการขนส่งทางเรืออย่างมากเพราะกว่า 60% ของพื้นที่ไต้หวันติดกับทะเล ซึ่งคิดเป็น 20% ของการค้าโลก บริษัท TSMC (Taiwan Semiconductor) เป็นผู้ผลิตชิพที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า และครองสัดส่วนการตลาดกว่า 60% ของชิพทั้งโลก จึงมีความสำคัญค่อนข้างมากต่อเศรษฐกิจโลก
วิเคราะห์สถานการณ์ สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ และสิ่งที่ต้องติดตาม
แรงจูงใจที่ทำให้สหรัฐฯ ต้องส่ง Nancy Pelosi ไปเยือนไต้หวันส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่ Biden ต้องการเรียกคะแนนความนิยม กลับมาอีกครั้ง หลังคะแนนความนิยม (approval rating) ตกต่ำลงมากในทุกช่วงอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยสหรัฐฯ จะมีเลือกตั้งทั้งสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในเดือนพ.ย. นี้ หาก Democrat ซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแพ้การเลือกตั้งนี้อีก จะทำให้ Biden จะทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงเอาไว้ได้ยากมากขึ้น
Biden อาจใช้เรื่องนี้เพื่อหวังผลเลือกตั้งปลายปี ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ยังคง concern ในเรื่องหรือหัวข้อที่เกี่ยวกับจีน จึงทำให้ Biden อาจใช้เรื่องนี้เพื่อหวังผลเลือกตั้งปลายปี หลังความพยายามในการเจรจากับซาอุดิอาระเบียและจีนเพื่อลดเงินเฟ้อไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
Pelosi ไปไต้หวันใช้เวลา 7 ชั่วโมง ไม่ได้บินตามที่เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ปกติทำกัน
อย่างไรก็ดีการที่ไฟลท์บินของ Pelosi ใช้เวลาบิน 7 ชั่วโมง เพื่ออ้อมทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวเป็นอย่างมาก การทำเช่นนี้อาจเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่ไม่จำเป็น
ที่มา: Bloomberg, Flightradar24, MorningConsult as of 3 Aug 22