สรุปภาวะตลาด
"FED จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในช่วงแรกเพื่อคุมเงินเฟ้อ อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย นักลงทุนมีทางเลือกอย่างไร?"
ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่นสหรัฐฯ อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มปรับขึ้นเร็วและแรงในช่วงแรกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับธนาคารกลางยุโรป (“ECB”) ที่มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่อง
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวผันผวนและปรับตัวลงแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมาอันเป็นผลมาจากความกังวลว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ดังจะเห็นได้จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ชะลอลง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ใกล้ระดับ 6% ต่อปี ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 30% - 35% เมื่อเทียบกับปลายปี 2564
- ยอดขายบ้านใหม่และยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม ซึ่งหากออกมาน้อยกว่าคาดจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดหุ้นเนื่องจากทำให้ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มการปรับประมาณการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนของนักวิเคราะห์ ซึ่งมีแนวโน้มปรับลดประมาณการณ์ลงจากผลกระทบของเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ชะลอลง
- มองว่าตลาดหุ้นมีโอกาส rebound ได้บ้างในระยะสั้น แต่คาดเป็นการ rebound ในระยะสั้นเท่านั้น ในภาพระยะกลาง-ยาว ยังเป็นตลาดขาลง โดยจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้เมื่อ bond yield และ real yield ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
- นักลงทุนระยะยาว ที่ลงทุนได้ 1 ปี ขึ้นไป แนะนำทยอยสะสม ขณะที่นักลงทุนระยะสั้นแนะนำwait and see โดยกองทุนที่แนะนำได้แก่
- LHDIVB: หุ้นปันผลสูง และ/หรือ ซื้อหุ้นคืนสูง เหมาะกับการลงทุนช่วงตลาดผันผวน
- LHMSFL: เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นไทยขนาดกลางขนาดเล็กที่มีโอกาสเติบโตสูง
- LHCYBER: ได้ประโยชน์จากความต้องการด้าน cybersecurity ที่เพิ่มขึ้นในระยะกลางยาว
- LHJAPAN: เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากการบริโภคที่ฟื้นตัวจากการเปิดรับนักท่องเที่ยว
- LHPROPIA: กองทุนสู้เงินเฟ้อ ขึ้นค่าเช่าได้ตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราการเช่าเพิ่มสูงขึ้นจากการเปิดเศรษฐกิจ และมีเงินปันผลคาดหวังระดับสูงที่ 5%-6%
ที่มา LH Fund 19 มิ.ย. 65
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน