สรุปภาวะตลาด
ตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา และปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวในกรอบแคบ โดยยังคงให้น้ำหนักเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป โดยสัปดาห์หน้าติดตามการประกาศ Core PCE ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ FED ติดตามใกล้ชิดและจะส่งผลต่อการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยของ FED และตลาดหุ้นทั่วโลก นอกจากนี้จะเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะเลือกประธาน FED คนใหม่ ซึ่งหากเป็น Powell เหมือนเดิม ตลาดจะตอบรับเชิงบวก ขณะที่ถ้าเลือกคุณ Brainard ซึ่งมีความ Dovish มากกว่า Powell คาดน่าจะทำให้ bond yield ระยะยาวปรับตัวขึ้น กดดันตลาดหุ้นระยะสั้น
มุมมองการลงทุน
ตลาดหุ้น
มองไปในระยะ 6 เดือนข้างหน้า หุ้นกลุ่ม Value, Cyclical, และประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ เนื่องจากจะมีการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ การบริโภคจะดีขึ้น ทำให้มีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มประมาณการกำไรต่อหุ้น โดยหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์และมีโอกาส outperform เช่น Emerging Market ที่ยัง laggard และ ASEAN แม้ในระยะสั้นจะมีโอกาส underperform บ้างในระยะสั้น
หุ้นจีน (offshore)
นั้นคาดว่ามีโอกาส bottom out ไปแล้วหรืออย่างช้าในช่วงปลายปี หลังการแทรกแซงเชิงลบจากภาครัฐบรรเทาลง และมีสัญญาณเชิงบวกเข้ามาเช่นมีการเปิดให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาสามารถทำกำไรจากการสอนหรือติวสอบผู้ใหญ่ได้ มีการผ่อนคลายกฎเพื่อให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์สามารถระดมเงินได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
หุ้นไทย มองว่ากำไรต่อหุ้นจะดีขึ้นในช่วงถัดจากนี้โดยได้รับผลบวกจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้การบริโภค และการเดินทางเพิ่มขึ้น เป็นผลดีต่อกลุ่ม ธนาคาร, ค้าปลีก, ขนส่ง รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัยและนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
PF&REITs
คาด REITs เอเชียรวมถึงไทยมี downside risk ค่อนข้างจำกัด จากราคาที่ laggard และมีปัจจัยหนุนจากการที่จะกลับมาเปิดเศรษฐกิจหลังการฉีดวัคซีนก้าวหน้า นอกจากนี้อัตราเงินปันผลที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Global REITs จึงมีโอกาสมีผลการดำเนินงานที่ดีได้ในปีหน้า
กลยุทธ์การลงทุน และกองทุนที่น่าสนใจ
ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่า REITs และตราสารหนี้ เนื่องจากคาดว่าจะได้ประโยชน์จากภาวะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัว และอัตราดอกเบี้ยค่อยๆ ปรับขึ้นอย่างช้าๆ แต่อาจไม่ปรับตัวขึ้นรวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา กองทุนแนะนำเช่น
LHTPROP (ระดับความเสี่ยง 8) และ LHPROPIA (ระดับความเสี่ยง 8 และมี FX Risk) ซึ่งมีโอกาสได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจหลังผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น มีอัตราเงินปันผลและ Earning Yield Gap ปี 2022 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และยัง laggard
LHGROWTH (ระดับความเสี่ยง 6) เนื่องหุ้นไทยมีโอกาสได้ผลดีจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลบวกกับกลุ่ม ธนาคาร, ค้าปลีก, ขนส่ง รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่อยู่อาศัยและนิคมอุตสาหกรรม
LHCHINA (ระดับความเสี่ยง 6) โดยมองว่า valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ขณะที่อัตราการเติบโตของบริษัทที่ลงทุนยังมีแนวโน้มเติบโตได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะมี fund flow กลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ laggard ในปีหน้า
กองทุน IPO
LHVN ลงทุนอย่าง active ในหุ้นเวียดนามผ่านทั้งการลงทุนใน ETFs และลงทุนหุ้นโดยตรง โดยมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนเหนือกว่าดัชนีชี้วัดในระยะยาว โดยเศรษฐกิจเวียดนามยังคงเติบโตได้ดีหนุนโดยการบริโภคและการลงทุน บริษัทในเวียดนามที่ได้ประโยชน์จาก megatrend ดังกล่าวยังมีอีกจำนวนมาก
ที่มา LHFund 19 พ.ย. 64