สรุปภาวะตลาด
ตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
ตลาดหุ้นทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาเคลื่อนไหวผันผวนจากความกังวลต่อโอกาสการผิดชำระหนี้ของ China Evergrande บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนและความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ประธาน FED ยังให้สัมภาษณ์เชิง Dovish แม้การลด QE จะเกิดขึ้นเร็วและใช้เวลาสั้นกว่าคาด ส่วน Dot Plot เผยให้เห็นว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดมีเพิ่มขึ้น
มุมมองการลงทุนในสัปดาห์นี้
ตลาดหุ้น
คาดตลาดหุ้นเคลื่อนไหวผันผวน โดยมีปัจจัยรบกวนคือโอกาสผิดนัดชำระหนี้ของ China Evergrande แม้ตลาดจะรับรู้ปัจจัยดังกล่าวไปบ้างแล้วและคาดทางการจีนจะพยายามสุดความสามารถเพื่อไม่ให้กลายเป็น systematic risk ขณะที่การพิจารณาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ และการคาดการณ์ผลประกอบการบจ. ในไตรมาส 3 รวมถึงความเห็นของกรรมการ FOMC รายบุคคลจะเข้ามาส่งผลต่อตลาดเพิ่มมากขึ้น
PF&REITs
คาด Global REITs ยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีได้ในระยะยาว แต่ upside จำกัดในระยะสั้น และอาจมีแรงขายทำกำไรหาก bond yield ปรับตัวขึ้นแรง ขณะที่ REITs กลุ่มประเทศประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทยมี downside risk ค่อนข้างจำกัด จากราคาที่ laggard โดยหากการฉีดวัคซีนก้าวหน้าจะเป็นปัจจัยหนุน REIT กลุ่มนี้ได้ และมีอัตราเงินปันผลที่สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ
กลยุทธ์การลงทุน และกองทุนที่น่าสนใจ
ระยะยาว ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่า REITs และตราสารหนี้ เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแม้อาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นรวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา เพราะสภาพคล่องในระบบเริ่มลดลง การเติบโตของรายได้และกำไรของบจ. บางประเทศที่อาจชะลอลง แนะนำ Buy on Dip โดยมีกองทุนแนะนำ เช่น
LHJAPE (ระดับความเสี่ยง 6 และมี FX Risk): นโยบายการคลังและการเงินยังผ่อนคลาย สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ Valuation ถูกกว่าสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่กำไรต่อหุ้นถูกปรับขึ้น และได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ นอกจากนี้หุ้นญี่ปุ่นทั้ง TOPIX และ Nikkei มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกในไตรมาสสุดท้ายของปี
LHGEQ (ระดับความเสี่ยง 6 และมี FX Risk): กองทุนหุ้นโลกซึ่งมีผลงานที่ดีต่อเนื่อง และ diversify การลงทุนได้ดีทั้งประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรม
LHTPROP (ระดับความเสี่ยง 8) และ LHPROPIA (ระดับความเสี่ยง 8 และมี FX Risk) ซึ่งมีโอกาสได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจหลังผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น มีอัตราเงินปันผลปี 2022 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และยัง laggard
LHSMARTDSSF (ระดับความเสี่ยง 5): สำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดภาษี โดยแนะนำทยอยลงทุนเมื่อ SET Index ปรับตัวใกล้ระดับ 1,600 จุด +/-
ความเสี่ยง: ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาจมีการปรับฐานหากมีปัจจัยลบแม้เพียงเล็กน้อยเข้ามาในระยะสั้น ซึ่งเป็นโอกาสเข้าลงทุนอีกครั้ง ทั้งนี้แนะนำลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน
Key Event ในสัปดาห์นี้
ต่างประเทศ
-การพิจารณาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ
-Official และ Caixin Manufacturing PMI จีน (Sep) (คาด 50.2)
-Core PCE สหรัฐฯ (Aug) (คาด 0.3% mom)
ในประเทศ
ประชุมคณะกรรมการการเงินแห่งประเทศไทย (คาดคงดอกเบี้ย 0.5%)
ที่มา LHFund 24 ก.ย. 64
กลยุทธ์การลงทุน และกองทุนที่น่าสนใจ
ระยะยาว ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่า REITs และตราสารหนี้ เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแม้อาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นรวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา เพราะสภาพคล่องในระบบเริ่มลดลง การเติบโตของรายได้และกำไรของบจ. บางประเทศที่อาจชะลอลง แนะนำ Buy on Dip โดยมีกองทุนแนะนำ เช่น
LHJAPE (ระดับความเสี่ยง 6 และมี FX Risk): นโยบายการคลังและการเงินยังผ่อนคลาย สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ Valuation ถูกกว่าสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่กำไรต่อหุ้นถูกปรับขึ้น และได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ นอกจากนี้หุ้นญี่ปุ่นทั้ง TOPIX และ Nikkei มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกในไตรมาสสุดท้ายของปี
LHGEQ (ระดับความเสี่ยง 6 และมี FX Risk): กองทุนหุ้นโลกซึ่งมีผลงานที่ดีต่อเนื่อง และ diversify การลงทุนได้ดีทั้งประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรม
LHTPROP (ระดับความเสี่ยง 8) และ LHPROPIA (ระดับความเสี่ยง 8 และมี FX Risk) ซึ่งมีโอกาสได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจหลังผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น มีอัตราเงินปันผลปี 2022 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และยัง laggard
LHSMARTDSSF (ระดับความเสี่ยง 5): สำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดภาษี โดยแนะนำทยอยลงทุนเมื่อ SET Index ปรับตัวใกล้ระดับ 1,600 จุด +/-
ความเสี่ยง: ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาจมีการปรับฐานหากมีปัจจัยลบแม้เพียงเล็กน้อยเข้ามาในระยะสั้น ซึ่งเป็นโอกาสเข้าลงทุนอีกครั้ง ทั้งนี้แนะนำลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน
Key Event ในสัปดาห์นี้
ต่างประเทศ
-การพิจารณาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ
-Official และ Caixin Manufacturing PMI จีน (Sep) (คาด 50.2)
-Core PCE สหรัฐฯ (Aug) (คาด 0.3% mom)
ในประเทศ
ประชุมคณะกรรมการการเงินแห่งประเทศไทย (คาดคงดอกเบี้ย 0.5%)
ที่มา LHFund 24 ก.ย. 64